ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร : 23000000-6699

สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาวปรีดา พูลสิน โทร. 0 2203 2749

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 2

หลักการและเหตุผล

การพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานครเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นกระบวนการที่จะเชื่อมโยงไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างเป็นระบบ ก่อให้เกิดการพัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเยาวชนและประชาชนชาวกรุงเทพมหานครได้ ในปัจจุบันการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานครจำนวน 9 สาขา ได้แก่ สาขาทัศนศิลป์ สาขาศิลปะการแสดง สาขาวรรณศิลป์ สาขาดนตรีและขับร้อง สาขาสถาปัตยกรรม สาขามัณฑนศิลป์ สาขาเรขศิลป์ สาขาภาพยนตร์ และสาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบผลงานที่ต่อยอดจากองค์ความรู้เดิมผสมกับองค์ความรู้สมัยใหม่จนเกิดเป็นผลงานที่ร่วมสมัยมีคุณค่าและเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวโดยส่วนวัฒนธรรม เป็นส่วนราชการที่มีภารกิจในการประสานการดำเนินงานและเชื่อมโยงองค์กรเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ซึ่งในปีพุทธศักราช 2564 สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวโดยส่วนวัฒนธรรม ได้ดำเนินการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานครแล้ว จำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาทัศนศิลป์ สาขาศิลปะการแสดง และสาขาดนตรีและขับร้องและได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในปีพุทธศักราช 2565 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาวรรณศิลป์ สาขาสถาปัตยกรรม และสาขามัณฑนศิลป์ ดังนั้นเพื่อให้การเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม-ร่วมสมัยของกรุงเทพมหานครให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิดและร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างเป็นระบบในปีพุทธศักราช 2566 จึงได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาเครือข่ายในรูปแบบการเสวนาวิชาการ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานครจำนวน 3 สาขา ได้แก่สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย สาขาเรขศิลป์ และสาขาภาพยนตร์

23071000/23071000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.สร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่ายในการพัฒนางานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จำนวน ๓ สาขา 2. เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยให้กับเยาวชนและประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ด้านศิลปะแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

เป้าหมายของโครงการ

ดำเนินการพัฒนาเครือข่ายในรูปแบบเสวนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร จำนวน ๓ สาขา ได้แก่สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย สาขาเรขศิลป์ และสาขาภาพยนตร์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครโดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้สนใจด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกรุงเทพมหานคร สาขาละ 80 คน รวมจำนวน ๒40 คน เข้าร่วมกิจกรรม

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-03-24)

100.00

24/03/2566 : กิจกรรมเสวนาวิชาการเครือข่ายด้านข้อมูลองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ตามโครงการค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 24 มีนาคม 2566 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีนายสมบูรณ์ หอมนาน ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ร่วมกับคณะผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กี ฬา และการท่องเที่ยว ในการเสวนาวิชาการฯ จำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย สาขาเรขศิลป์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาแนวคิดด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมจากบุคลากรด้านการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมอาชีพนักเรียนจากโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร นักศึกษาจากมหาลัยต่างๆ กิจกรรมประกอบด้วย ดังนี้ 1.วันพุธ ที่ 22 มีนาคม 2566 สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย - กิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง “กรุงเทพมหานครกับการส่งเสริมและพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกาย” - กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ 2. วันพฤหัสบดี ที่ 22 มีนาคม 2566 สาขาเรขศิลป์ - กิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง “เรขศิลป์กับชีวิตประจำวัน” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ สาขาเรขศิลป์ - กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ 3.วันศุกร์ ที่ 23 มีนาคม 2566 สาขาภาพยนตร์ - กิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง “กรุงเทพมหานครกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ สาขาภาพยนตร์ - กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-02-23)

50.00

ดำเนินการพัฒนาเครือข่ายในรูปแบบเสวนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร จำนวน ๓ สาขา ได้แก่ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย สาขาเรขศิลป์ และสาขาภาพยนตร์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครโดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้สนใจด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกรุงเทพมหานคร สาขาละ 80 คน รวมจำนวน ๒40 คน เข้าร่วมกิจกรรมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ถ่ายทอดองค์ความรู้และจัดนิทรรศการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร โดยมีกิจกรรม ดังนี้ 1.) เสวนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 สาขา 2.) การสาธิตและฝึกปฏิบัติการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จำนวน 3 สาขา และ 3.) การจัดแสดงนิทรรศการ 1. อยู่ในระหว่างขั้นตอนการสืบราคา รายงานผลและดำเนินการจ้างเหมา 2. อยู่ในระหว่างดำเนินการขอยืมเงิน 3. อยู่ในระหว่างเตรียมการประชุมและเตรียมจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-27)

30.00

27/01/2566 : ดำเนินการพัฒนาเครือข่ายในรูปแบบเสวนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 สาขา ได้แก่สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย สาขาเรขศิลป์ และสาขาภาพยนตร์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครโดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้สนใจด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกรุงเทพมหานคร สาขาละ 80 คน รวมจำนวน 240 คน เข้าร่วมกิจกรรมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ถ่ายทอดองค์ความรู้และจัดนิทรรศการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมระหว่าง วันที่ 22 - 24 มีนาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีกิจกรรม ดังนี้ - เสวนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 สาขา - การสาธิตและฝึกปฏิบัติการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จำนวน 3 สาขา - การจัดแสดงนิทรรศการ 1.อยู่ในระหว่างดำเนินการขอเงินงวด ที่ 2 2.อยู่ในระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการ TOR

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ขออนุมัติดำเนินการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:ประสานการดำเนินงานเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:จัดประชุมเครือข่ายศิลป -วัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม
:30.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:จัดประชุมเสวนาวิชาการและถ่ายทอดข้อมูลองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จำนวน3 สาขาครั้งละ 1 สาขา รวมจำนวน 3 ครั้ง - มีการเสวนาวิชาการ และประชุมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย - มีการจัดแสดงนิทรรศการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย- จัดเก็บข้อมูล
:30.00%
เริ่มต้น :2023-03-23 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-23 00:00:00
ขั้นตอน 5
:รายงานผลการดำเนินโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 23000000-6699

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 23000000-6699

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 2300-851

ตัวชี้วัด : 1.2 ระดับความสำเร็จในการจัดกิจกรรมของเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานครที่จัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาครบถ้วนตามที่กำหนด

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 6

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

95 / 100
2
2.00

0 / 0
3
2.00

0 / 0
4
6.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **