ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ส่วนวัฒนธรรม
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ด้วยพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 มาตรา ๑๔ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครขึ้น โดยปลัด-กรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการส่วนวัฒนธรรมเป็นเลขานุการ มีหน้าที่ในการดำเนินการร่วมกับชุมชนเพื่อรวบรวมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และประสานงานเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน รวมทั้งระดมทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและรักษาเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ส่งเสริมให้รู้คุณค่าและ มีการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จึงจัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการรวบรวมองค์ความรู้ พัฒนาและปรับปรุงข้อมูลองค์ความรู้ รวมถึงส่งเสริม อนุรักษ์ และเผยแพร่ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระตุ้นการตระหนักรู้ถึงประวัติความเป็นมา คุณค่าความสำคัญของวัฒนธรรมต่อประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในแหล่งเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และมรดก- ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
23071000/23071000
1. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดก-ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๙ 2. เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และกระตุ้นการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของวัฒนธรรมต่อประชาชนในท้องถิ่น 3. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการท่องเที่ยว
1. ดำเนินการคัดเลือกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร (มภ. ๒) 2. จัดกิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการท่องเที่ยว
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-27)
27/09/2566 : การเบิกจ่ายเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นจำนวนเงิน 172,000 บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสองพันบาทถ้วน) งบคงเหลือ 4,600 บาท (สี่พันหกร้อยบาทถ้วน)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-31)
31/08/2566 : กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการท่องเที่ยว วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว นำคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ และกลุ่มเขตกรุงธนใต้ เข้ารับฟังการบรรยายในหัวข้อ "การสืบสานศิลปะไทยโบราณหุ่นสายเสมา" โดย นายนิมิตร พิพิธกุล ศิลปินศิลปาธร ปี 2550 และรับชมการสาธิตการแสดงการชักหุ่น "สุดสาคร" "สิงโตนำโชค" และ "เจ้าเงาะ" ซึ่งเคยได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมเทศกาลหุ่นโลก ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้วิธีชักหุ่น และทดลองชักหุ่นด้วยตนเอง ณ โรงละครหุ่นสายเสมา เขตหลักสี่ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้ เก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาฯ และนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ทั้งนี้ หุ่นสายเสมา ได้รับการคัดเลือกโดยคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ให้ขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 หุ่นสายเสมา คือ คณะหุ่นที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มศิลปินท้องถิ่น โดยมีจุดมุ่งหมายการสร้างงานศิลปะจากความเป็นไทยร่วมสมัย ผ่านแรงบันดาลใจในการสร้างงานจากศิลปะพื้นบ้านของแต่ละพื้นที่ ผ่านการเล่าเรื่องด้วยศิลปะหุ่นสาย การจำลองสังคมไทยให้ผู้คนทั้งไทยและต่างชาติ ได้ใช้เรียนรู้บริบททางสังคมไทย และได้ข้อคิดที่ดีในการนำไปใช้เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมชุมชน และนำไปสู่การจัดตั้งเป็น “มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม” ในปี 2557 โดยมีพันธกิจหลักคือ สืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว นำคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ และกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก เข้ารับฟังการบรรยายในหัวข้อ "การประดิษฐ์และการเชิดหุ่นกระบอกไทย" โดย นายนิเวศ แววสมณะ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2561 ประเภทเครื่องอื่นๆ (หุ่นกระบอกไทย) รางวัลวัฒนคุณาธร และรางวัลครูภูมิปัญญา พร้อมกับได้รับชมการสาธิตการแสดงการเชิดหุ่นกระบอก "พระสุธน มโนราห์" และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดลองประดิษฐ์หุ่นกระบอกเพื่อเก็บไว้เป็นผลงานที่ระลึกที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก ณ บ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย เขตหลักสี่ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้ เก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาฯ และนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ทั้งนี้ บ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย ได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ให้ขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 บ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยคุณนิเวศ แววสมณะ ลูกศิษย์ของครูชื้น สกุลแก้ว ศิลปินแห่งชาติ สาขาการแสดง (หุ่นกระบอกไทย) นอกจากมีการผลิตและจำหน่ายหุ่นกระบอกไทยแล้ว บ้านตุ๊กกะตุ่นฯ ยังได้เปิดบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้หุ่นกระบอกไทยและสากล รวมถึงได้ประยุกต์การแสดงหุ่นกระบอกให้เหมาะกับความนิยมในแต่ละยุคสมัย และสร้างสรรค์งานรูปแบบใหม่ๆ เช่น ละครเพลงที่ใช้วรรณกรรมร่วมสมัยแทนวรรณคดีไทย แต่ยังคงจารีตการประดิษฐ์และการรำเชิดหุ่นที่สะท้อนออกมาซึ่งความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566 สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว นำคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย บุคลากรสังกัดสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว รับฟังการบรรยายในหัวข้อ "หัตถศิลป์ทรงคุณค่า เครื่องประดับลงยาราชาวดี" โดยคุณพนิดา สมบูรณ์ เจ้าของมรดกภูมิปัญญาและผู้ผลิตเครื่องประดับแบรนด์ PANIDAR และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับชมการสาธิตการเทสีลงยา และการเผาชิ้นงานให้มีความแวววาว ณ ศูนย์การเรียนรู้เครื่องประดับลงยาราชาวดี เขตวังทองหลาง พร้อมนี้ นางพูลศรี เกียรติมณีรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนวัฒนธรรม ได้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้ เก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาฯ และนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ทั้งนี้ เครื่องประดับลงยาราชาวดี ได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ให้ขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน คุณพนิดา สมบูรณ์ เจ้าของแบรนด์เครื่องประดับลงยาราชาวดี PANIDAR ได้ดำเนินการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาการผลิตจากรุ่นสู่รุ่นกว่า 80 ปี ด้วยการเปิดสอนขั้นตอนอย่างเปิดเผยสำหรับผู้ที่สนใจเรียนเพื่อประกอบอาชีพสร้างรายได้ แต่ยังคงใช้ความพิถีพิถันและทักษะ ทุกขั้นตอนในการผลิต ด้วยความภูมิใจในเอกลักษณ์ไทยและความสุขที่ได้ผลิตชิ้นงาน ตามจินตนาการให้เป็นลวดลายต่างๆ โดยเฉพาะการใช้ลายไทยดั้งเดิมมาประยุกต์ ในการผลิตเครื่องประดับลงยาราชาวดี เช่น ดอกพิกุล หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์มาพัฒนาเป็นชิ้นงานร่วมสมัย แต่ยังใช้วิธีการลงยาแบบดั้งเดิม ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับของ PANIDAR เครื่องลงยาราชาวดี เครื่องประดับโลหะ (ทองเหลืองผสม) เคลือบทอง ที่ทรงคุณค่าของงานหัตถศิลป์ รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ และวิธีการผลิตที่ดี ปลอดภัยจากการแพ้หรือคัน สีลงยาที่มีวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม ทำให้ยาสีไม่หลุดลอกและหมองคล้ำ คงทน มีความสวยงามอยู่ได้นานเหมาะกับการออกงานในโอกาสต่างๆ กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการท่องเที่ยว อยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารและชดใช้เงินยืม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-08-29)
29/08/2566 : วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการท่องเที่ยว สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว นำคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ และกลุ่มเขตกรุงธนใต้ เข้ารับฟังการบรรยายในหัวข้อ "การสืบสานศิลปะไทยโบราณหุ่นสายเสมา" โดย นายนิมิตร พิพิธกุล ศิลปินศิลปาธร ปี 2550 และรับชมการสาธิตการแสดงการชักหุ่น "สุดสาคร" "สิงโตนำโชค" และ "เจ้าเงาะ" ซึ่งเคยได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมเทศกาลหุ่นโลก ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้วิธีชักหุ่น และทดลองชักหุ่นด้วยตนเอง ณ โรงละครหุ่นสายเสมา เขตหลักสี่ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้ เก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาฯ และนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ทั้งนี้ หุ่นสายเสมา ได้รับการคัดเลือกโดยคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ให้ขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 หุ่นสายเสมา คือ คณะหุ่นที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มศิลปินท้องถิ่น โดยมีจุดมุ่งหมายการสร้างงานศิลปะจากความเป็นไทยร่วมสมัย ผ่านแรงบันดาลใจในการสร้างงานจากศิลปะพื้นบ้านของแต่ละพื้นที่ ผ่านการเล่าเรื่องด้วยศิลปะหุ่นสาย การจำลองสังคมไทยให้ผู้คนทั้งไทยและต่างชาติ ได้ใช้เรียนรู้บริบททางสังคมไทย และได้ข้อคิดที่ดีในการนำไปใช้เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมชุมชน และนำไปสู่การจัดตั้งเป็น “มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม” ในปี 2557 โดยมีพันธกิจหลักคือ สืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการท่องเที่ยว สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว นำคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ และกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก เข้ารับฟังการบรรยายในหัวข้อ "การประดิษฐ์และการเชิดหุ่นกระบอกไทย" โดย นายนิเวศ แววสมณะ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2561 ประเภทเครื่องอื่นๆ (หุ่นกระบอกไทย) รางวัลวัฒนคุณาธร และรางวัลครูภูมิปัญญา พร้อมกับได้รับชมการสาธิตการแสดงการเชิดหุ่นกระบอก "พระสุธน มโนราห์" และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดลองประดิษฐ์หุ่นกระบอกเพื่อเก็บไว้เป็นผลงานที่ระลึกที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก ณ บ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย เขตหลักสี่ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้ เก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาฯ และนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ทั้งนี้ บ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย ได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ให้ขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 บ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยคุณนิเวศ แววสมณะ ลูกศิษย์ของครูชื้น สกุลแก้ว ศิลปินแห่งชาติ สาขาการแสดง (หุ่นกระบอกไทย) นอกจากมีการผลิตและจำหน่ายหุ่นกระบอกไทยแล้ว บ้านตุ๊กกะตุ่นฯ ยังได้เปิดบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้หุ่นกระบอกไทยและสากล รวมถึงได้ประยุกต์การแสดงหุ่นกระบอกให้เหมาะกับความนิยมในแต่ละยุคสมัย และสร้างสรรค์งานรูปแบบใหม่ๆ เช่น ละครเพลงที่ใช้วรรณกรรมร่วมสมัยแทนวรรณคดีไทย แต่ยังคงจารีตการประดิษฐ์และการรำเชิดหุ่นที่สะท้อนออกมาซึ่งความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการท่องเที่ยว อยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารและชดใช้เงินยืม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-28)
28/07/2566 : สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กำหนดจัดกิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ตามโครงการค่าใช้จ่ายในการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ตลอดจนเพื่อกระตุ้นการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของวัฒนธรรมต่อประชาชนในท้องถิ่น กำหนดจัดขึ้น 3 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ โรงละครหุ่นสายเสมา เขตหลักสี่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย สำนักงานเขตในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ กลุ่มเขตกรุงธนใต้ และสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จำนวน 26 คน รุ่นที่ 2 วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 ณ บ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย เขตหลักสี่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย สำนักงานเขตในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ และกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก จำนวน 26 คน รุ่นที่ 3 วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์การเรียนรู้เครื่องประดับลงยาราชาวดี เขตวังทองหลาง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จำนวน 17 คน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : ได้รับเงินงวดเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างกำหนดวันจัดกิจกรรมช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-26)
26/05/2566 : อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดรายละเอียดในกิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครฯ โดยมีกำหนดการลงพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1. ชุมชนประดิษฐ์โทรการ 2. โรงละครหุ่นสายเสมา 3. บ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-25)
25/04/2566 : จัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 19 เมษายน 66 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 16 อาคารธานีนพรัตน์ เรียบร้อยแล้ว โดยพิจารณาคัดเลือกรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดทำแบบรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (มภ.2) และประกาศขึ้นบัญชีระดับกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566 จำนวน 7 รายการ ได้แก่ 1. ชุดไทยพระราชนิยม สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 2. เครื่องทองลงหิน ชุมชนประดิษฐุ์โทรการ สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 3. เครื่องประดับลงยาราชาวดี เขตวังทองหลาง สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 4. เซปักตะกร้อ สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะต่อสู้ป้องกันตัว 5. บ้านตุ๊กตุ่นหุ่นกระบอกไทย สาขาศิลปะการแสดง 6. หุ่นสายเสมา สาขาศิลปะการแสดง 7. ตำนานพระพุทธรูปทองคำ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียด รายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (มภ.2) ทั้ง 7 รายการ และอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดลงพื้นที่จัดกิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการท่องเที่ยว จำนวน 3 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-27)
27/03/2566 : จัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 เมษายน 66 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 16 อาคารธานีนพรัตน์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : อยู่ระหว่างให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา แบบ มภ.2 พิจารณาเลื่อนวันจัดประชุมฯ ในเดือนมีนาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : - อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการจัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญามทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และอยู่ระหว่างพิจารณาวันจัดประชุมฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 66_ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวดำเนินการสำเร็จตามที่เป้าหมายกำหนด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 76.47
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **