ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาววัลย์ลิกา ลิ้มสุวรรณ โทร. 3925 -3927
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ด้วยปัจจุบันปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำได้ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนทั่วโลก การแข่งขัน การกีดกันทางการค้า และการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ส่งผลให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการทั่วโลก จำเป็นต้องมีการปรับตัวโดยการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีความทัดเทียมหรือเหนือกว่าคู่แข่งขัน จากการที่ประเทศไทยได้ดำเนินการตามแผนบูรณาการทางเศรษฐกิจเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY) ในปี 2558 นั้น การพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ยังมีความสำคัญและจำเป็นในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของการค้าและการลงทุน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของกรุงเทพมหานครในการผลักดันให้เป็นมหานครแห่งอาเซียน ประกอบกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี (พ.ศ.2555 – 2575) แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561 – 2565) ด้านที่ 6 มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ มิติที่ 6.1 เมืองแห่งโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน เป้าหมายที่ 6.1.1 กรุงเทพมหานครมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ เป้าประสงค์ที่ 6.1.1.2 ยกระดับ/พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ และมีความเป็น “สินค้าเชิงนวัตกรรม” รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้มีทักษะในการทำธุรกิจ สามารถแข่งขันได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และการพัฒนานวัตกรรม สำนักพัฒนาสังคมได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อก้าวสู่ยุคดิจิตอล 4.0 เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้และทักษะในการพัฒนาธุรกิจและการตลาด รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความรู้และทักษะในการเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพพร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอล และพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม นับเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าในระดับอาเซียนและก้าวไปสู่ความเป็นสากล
24040200/24040200
1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการกรุงเทพมหานครได้พัฒนาศักยภาพด้านการบริหารธุรกิจและการตลาดออนไลน์ 2. เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการกรุงเทพมหานครในการก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล 3. เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานครสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
จัดอบรมแบบไป – กลับ จำนวน 2 วัน และศึกษาดูงานนอกสถานที่ ณ สถานที่เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 วัน รวมเป็น 3 วัน ผู้เข้าร่วมโครงการในแต่ละรุ่น ประกอบด้วย ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ วิทยากร และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน คิดเป็นรุ่นละ 60 คน จำนวน 2 รุ่น รวมทั้งสิ้น 120 คน
ด้านที่ ๖ – มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ : Bangkok as an Economic and Learning Centre |
๖.๑ - เมืองแห่งโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน |
๖.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ% |
๖.๑.๑.๑ สนับสนุนการประกอบธุรกิจ และพัฒนาผลิตผลการเกษตร |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2019-01-31)
31/1/2562 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2018-12-26)
26/12/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดอบรมเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารเพื่อชดใช้เงินยืมใช้ในราชการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2018-11-26)
26/11/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างขออนุมัติบุคคลภายนอก
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 2.00 (2018-10-26)
26/10/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ศึกษาข้อมูลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีทักษะในการทำธุรกิจสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์คุณค่าสินค้า
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 10
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 11
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **