ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานคร มีนโยบายในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ระยะที่ 1 แต่ยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากตามรายงานสถิติการเฝ้าระวังโรคของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ยังคงพบว่าประชาชนมีอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง เมื่อเทียบกับโรคทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ และยังคงพบปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนด้วยโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารอยู่เสมอ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ประกอบการขาดความตระหนักในการเตรียม ประกอบ ปรุงและจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แนวทางหนึ่งที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้บริโภคเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และที่สำคัญที่สุด เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คือ การที่ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานเขตดุสิต ในฐานะหน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้จัดทำโครงการ “กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยขึ้น เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการในสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่ผลิตอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร และตระหนักในสิทธิหน้าที่ของตนเองในการเลือกซื้ออาหารเพื่อรับประทานที่สะอาดและปลอดภัย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารที่มีการผลิตและจำหน่ายอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยกำหนดดำเนินงานในกิจกรรมที่ 1 เขตอาหารปลอดภัยภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
50070400/50070400
2.1 เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร สถานที่สะสมอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน ตลาด และแผงลอยจำหน่ายอาหาร 2.2 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด 2.3 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการ และผู้สัมผัสอาหารของสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด
3.1 สถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด สามารถปฏิบัติถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร โดยได้รับการตรวจประเมินสุขลักษณะทุกแห่งที่มีใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหาร 3.2 สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่วางจำหน่ายในสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด (1) ตรวจหาสารพิษปนเปื้อนในอาหาร ประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระ ยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท และสารโพลาร์ โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นทางเคมี (Test-Kit) จำนวน 2,550 ตัวอย่าง ต้องไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ คิดเป็นร้อยละ 100 ของตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์ (2) ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) จำนวน 1,500 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน คิดเป็นร้อยละ 95 ของตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์ 3.3 ผู้บริโภคได้รับการพิทักษ์สิทธิ์ในการเลือกซื้อกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ จากสถานประกอบการที่มีการจำหน่ายสินค้าประเภทกระเช้าของขวัญทุกแห่งในพื้นที่ 3.4 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่ สามารถปฏิบัติถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร โดยสามารถเป็นเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนระดับเขต ร่วมกับสำนักงานเขต จำนวน 46 แห่ง (1) ตรวจประเมินสภาพการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนทุกแห่ง (2) ตรวจหาสารพิษปนเปื้อนในอาหาร ประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระ ยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท และสารโพลาร์ โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นทางเคมี (Test-Kit) และตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหา เชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) (3) ตรวจวิเคราะห์คุณภาพนมโรงเรียนทางห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา (4) ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนระดับเขต จำนวน 2 ครั้ง/ปี (5) จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับอาสาสมัครอาหารปลอดภัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ครั้ง/ปี 3.5 จัดกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 1 ครั้ง/ปี 3.6 ตรวจสอบและติดตามให้สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย มีการรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้การส่งเสริมรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย (รายใหม่) ทุกราย
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-28)
สรุปผลการดำเนินงานรายงานผู้บริหารทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-23)
23/08/2566 : 1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 357 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 357 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 2. ตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 46 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : 1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 350 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 94.59 2. ตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 46 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-23)
23/06/2566 : 1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - มิถุนายน 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 314 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.86 2. ตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 26 แห่ง เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 3. ดำเนินกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลริมบาทวิถี วันที่ 19 มิถุนายน 2566 4. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย วันที่ 22 มิถุนายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-26)
26/05/2566 : 1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - พฤษภาคม 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 278 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.14 2. ตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 13 แห่ง เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-04-24)
24/04/2566 : ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - เมษายน 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 243 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 65.68
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-24)
24/03/2566 : 1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 187 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50.54 2. จัดประชุมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ระดับเขต เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-24)
24/02/2566 : ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 149 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 40.27
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-25)
แผนปฏิบัติงานโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัยในพื้นที่เขตดุสิต ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - มกราคม 2566 จำนวน 370 แห่ง ดำเนินการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน และ รายงานผลการดำเนินงานผ่าน BKK Food Safety มีสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยจำนวน 118 แห่ง คิดเป็น 31.89 % เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-12-31)
31/12/2565 : ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคมที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติงานตามโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมสถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **