ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
จากการดำเนินการโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ในภาพรวมพบว่าสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยด้านอาหารมีแนวโน้มลดลง โดยสถิติการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายและเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารของกองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย ในปี พ.ศ. 2559-2564 มีแนวโน้มลดลง กล่าวคือพบการปนเปื้อนด้านจุลินทรีย์ ร้อยละ 24.3 48.68 28.2 19.52 2.65 และ 2.62 ตามลำดับ การปนเปื้อนด้านเคมี พบร้อยละ 0.3 0.32 0.32 0.11 และ 0.14 ตามลำดับ โดยพบว่าสาเหตุหลักคือการปนเปื้อนด้านจุลินทรีย์สอดคล้องกับอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันต่อแสนประชากรในกรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในกรุงเทพมหานคร จะมีแนวโน้มลดลงแต่เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีความยั่งยืน สำนักงานเขตบางกอกน้อย จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ขึ้น ภายใต้แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับปรับปรุง ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1.5 เมืองสุขภาพดี (Healthy City) ทั้งนี้เพื่อให้มีการป้องกันและเฝ้าระวังการปนเปื้อนเชื้อโรค และสารพิษในอาหาร กำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินการด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร
50190400/50190400
๒.๑ เพื่อให้มีการป้องกันและเฝ้าระวังการปนเปื้อนเชื้อโรค และสารพิษในอาหาร ๒.๒ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ๒.๓ เพื่อปรับปรุงยกระดับมาตรฐานการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร ๒.๔ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการอาหารเกิดจิตสำนึกในการประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร มีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-23)
23/08/2566 : ในเดือนกรกฎาคม 2566 และเดือนสิงหาคม 2566 1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหาสารบอแรกซ์ จำนวน 103 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอร์มาลิน จำนวน 87 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอกขาว จำนวน 45 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารกันรา จำนวน 11 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 79 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ตรวจหาสารโพลาร์ จำนวน 3 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาสารกรดแร่อิสระ จำนวน 4 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารไอโอเดท 11 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 414 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 3. ตรวจมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-24)
24/07/2566 : 1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหาสารบอแรกซ์ จำนวน 108 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอร์มาลิน จำนวน 71 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอกขาว จำนวน 10 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารกันรา จำนวน 3 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 83 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ตรวจหาสารโพลาร์ จำนวน 1 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาสารกรดแร่อิสระ จำนวน 5 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารไอโอเดท 9 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 594 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 3. ตรวจมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-23)
23/06/2566 : 1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหาสารบอแรกซ์ จำนวน 42 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอร์มาลิน จำนวน 5 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอกขาว จำนวน 4 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารกันรา จำนวน 3 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 27 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ตรวจหาสารโพลาร์ จำนวน 2 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาสารกรดแร่อิสระ จำนวน 1 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารไอโอเดท 7 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 139 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 3. ตรวจมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-05-18)
18/05/2566 : ในเดือนเมษายน 2566 1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหาสารบอแรกซ์ จำนวน 55 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอร์มาลิน จำนวน 21 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอกขาว จำนวน 9 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารกันรา จำนวน 1 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 24 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ตรวจหาวัตถุกันเสีย 1 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 64 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 3. ตรวจมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-19)
19/04/2566 : 1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหาสารบอแรกซ์ จำนวน 49 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอร์มาลิน จำนวน 20 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอกขาว จำนวน 13 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารกันรา จำนวน 8 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 17 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ตรวจหาสารไอโอเดท 3 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 183 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 3. ตรวจมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-29)
29/03/2566 : 1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหาสารบอแรกซ์ จำนวน 74 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอร์มาลีน จำนวน 42 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอกขาว จำนวน 26 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารกันรา จำนวน 18 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 47 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ตรวจหาสารโพลาร์ จำนวน 2 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาสารไอโอเดท 3 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 158 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 3. ตรวจมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : 1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหาสารบอแรกซ์ จำนวน 72 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอร์มาลีน จำนวน 22 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอกขาว จำนวน 23 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารกันรา จำนวน 5 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 45 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ตรวจหาสารโพลาร์ จำนวน 1 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาสารกรดแร่อิสระ จำนวน 5 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารไอโอเดท 2 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 249 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 3. ตรวจมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-24)
24/01/2566 : เดือนพฤศจิกายน 2565 1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหาสารบอแรกซ์ จำนวน 6 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอร์มาลีน จำนวน 3 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอกขาว จำนวน 1 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 3 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ตรวจหาสารไอโอเดท 2 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 25 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 3. ตรวจมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เดือนธันวาคม 2565 1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหาสารบอแรกซ์ จำนวน 69 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอร์มาลีน จำนวน 44 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารฟอกขาว จำนวน 4 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 26 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ตรวจหาสารกรดแร่อิสระ จำนวน 2 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน ตรวจหาสารไอโอเดท 1 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 122 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 3. ตรวจมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ จำนวนตลาดเอกชนในพื้นที่เขตได้ดำเนินการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย แล้ว 2 แห่ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **