ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายปกครอง
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริต และเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม โดยใช้ชื่อว่า “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)” โดยเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และมีการขยายขอบเขตและพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขี้น ซึ่งการประเมินฯ ดังกล่าว มีผลต่อดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ได้กำหนดตัวชี้วัดว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570 จะต้องมีค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย อยู่ในอันดับ 1 ใน 43 จาก 180 ประเทศ และ/หรือ ไม่ต่ำกว่า 57 คะแนน ซึ่งกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีผลการประเมิน 88.50 คะแนน (ระดับ A) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีผลการประเมินได้คะแนน 91.48 คะแนน (ระดับ A) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีผลการประเมินได้คะแนน 88.32 คะแนน (ระดับ A) และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผลการประเมินได้คะแนน 90.01 คะแนน (ระดับ A) และมีเป้าหมายที่จะให้ผลการประเมินดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และในปีงบประมาณต่อ ๆ ไปอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า AA จากการดำเนินการที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้คะแนนการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) เต็ม 100 คะแนน ทั้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2564 และ พ.ศ.2565 แต่คะแนนในส่วนของแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) มีคะแนนที่น้อยลง จึงทำให้ผลคะแนนการประเมินของกรุงเทพมหานครลดลง และสะท้อนถึงการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาจากการประเมินของข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวนไม่น้อยกว่า 400 คน และจากผู้มาติดต่อ ผู้รับบริการ และคู่สัญญาของกรุงเทพมหานคร จำนวนไม่น้อยกว่า 400 คน ที่ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครให้ดียิ่งขึ้น โดยจากการประเมินที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า ข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร ยังไม่มีความเข้าใจในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) อีกทั้งยังไม่ทราบว่าการประเมินฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์อย่างไร และมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร และของประเทศไทยอย่างไร อีกทั้งการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) คือ ข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นย่อมเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครที่มุ่งพัฒนาให้กรุงเทพมหานครมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และตรวจสอบได้ และจะสะท้อนให้ผู้มาติดต่อ ผู้รับบริการ และคู่สัญญาของกรุงเทพมหานคร คือผู้ทำแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) รับรู้ถึงการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครที่มีความโปร่งใส มีคุณธรรม และตรวจสอบได้
50190100/50190100
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล% |
๗.๓.๒.๑ ทบทวนและปรับปรุงกรอบอัตราก?าลัง และโครงสร้างอัตราก?าลังให้มีความ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-26)
26/07/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ประเมินผล และให้คะแนน โดย ป.ป.ช.
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-05-31)
31/05/2566 : สำนักงานเขตบางกอกน้อย ได้เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยได้ดำเนินการตามแนวทางที่ ป.ป.ช. กำหนด ดังนี้ 1. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ ซึ่งประกอบด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานเขต ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่ของทุกส่วนราชการ ได้แก่ คำสั่งที่ 377 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA) , คำสั่งที่ 378 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานติดตามการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) และคำสั่งที่ 379 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานติดตามแบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฯ 2. จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินการ โดยวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มากำหนดเป็นมาตรการ/กิจกรรม/โครงการ พร้อมทั้งติดตามการดำเนินงานโดยผู้อำนวยการเขตอย่างต่อเนื่อง 3. ประชาสัมพันธ์การตอบแบบวัด IIT และ EIT ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของสำนักงานเขต ได้แก่ เว็บไซต์ facebook และ จุดให้บริการ 4. ดำเนินการตามแนวทางการเปิดเผยข้อมูล (OIT) ทั้ง 30 ข้อ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของสำนักงานเขต ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยผู้อำนวยการเขตเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ทั้งนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ และให้คะแนน โดย ป.ป.ช.
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) มีคะแนนไม่น้อยกว่า ระดับ AA
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 95
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **