ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย : 50240000-7173

สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

ด้วยกรุงเทพมหานครได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ซึ่งมีการดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ในภาพรวมของกรุงเทพมหานครพบว่า สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยด้านอาหารดีขึ้นโดยลำดับ และเพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานครมีความยั่งยืน และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมงานด้านอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานครให้มีความต่อเนื่อง ทั้งยังส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ ได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานคร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัย ในพื้นที่ ให้ได้รับการคุ้มครองสุขภาพ จากการบริโภคอาหารปลอดภัย

50240400/50240400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐาน ด้านสุขลักษณะในสถานประกอบการอาหาร 2. เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร ในสถานประกอบการอาหาร 3. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างความมั่นใจ ในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

เป้าหมายของโครงการ

1. ตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค ร้อยละ 90 2. ตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ ร้อยละ 100 3. สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 100

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-26)

100.00

26/09/2566 : 1. ตรวจสอบสุขลักษณณะทางกายภาพของตลาด ในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง 2. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารในพื้นที่ คือ ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด มินิมาร์ทและซูเปอร์มาร์เก็ต ให้มีการพัฒนาจนสามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร จนได้รับป้ายรับรอง ร้อยละ 100 ครบทั้ง 158 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-28)

95.00

28/08/2566 : 1.จัดประชุมคณะกรรมการเครื่อข่ายการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนและสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 22 แห่ง 2.ตรวจแนะนำประชาชสัมพันธ์งานด้านสุขาภิบาลอาหารในพื้นที่ เพื่อให้ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 3.เก็บตัวอย่างอาหาร (ผักสด) ในตลาดเพื่อตรวจวิเคราะห์หายาห่าแมลงตกค้าง จำนวน 104 ตัวอย่าง

** ปัญหาของโครงการ : -

** อุปสรรคของโครงการ : -

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-24)

90.00

24/07/2566 : 1.ตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 4 แห่ง 2. เก็บตัวอย่างอาหาร (ผักสด) จากตลาดประเภทที่ 1 จำนวน 104 ตัวอย่าง 3. ร่วมเก็บตัวอย่างอาหารกับรถตรวจสุขาภิบาลอาหารเคลื่อนที่ จากร้านจำหน่ายอาหาร จำนวน 1 แห่ง 4. ร่วมเก็บตัวอย่างอาหารส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จากซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่ จำนวน 16 ตัวอย่าง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 79.00 (2023-06-22)

79.00

22/06/2566 : 1. ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะทางกายภาพ ของสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท เพื่อส่งเสริมให้ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ต่อไป 2. ตรวจประเมินสภาพการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนปีการศึกษาที่ 1/2566 และตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีและเชื้อโรคปนเปื้อน ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) จากโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 18 แห่ง 3. เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีและเชื้อโรคปนเปื้อน ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) จากตลาดและร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่ รวมจำนวน 104 ตัวอย่าง

** ปัญหาของโครงการ : -

** อุปสรรคของโครงการ : -

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-25)

70.00

25/05/2566 : 1. ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะทางกายภาพ ของสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท เพื่อส่งเสริมให้ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ต่อไป 2. เก็บตัวอย่างอาหารจากซูเปอร์มาร์เก็ตในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 18 ตัวอย่าง 3. เก็บตัวอย่างผักเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในผักสด จากตลาดในพื้นที่ รวมจำนวน 104 ตัวอย่าง

** ปัญหาของโครงการ : -

** อุปสรรคของโครงการ : -

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-04-26)

65.00

26/04/2566 : 1. ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะทางกายภาพ ของสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท 2. ตรวจแนะนำเก็บตัวอย่างอาหารจากร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่ ร่วมกับหน่วยรถตรวจอาหารเคลื่อนที่ ประจำเดือนเมษายน 2566

** ปัญหาของโครงการ : -

** อุปสรรคของโครงการ : -

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-03-30)

55.00

30/03/2566 : 1. ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะทางกายภาพ ของสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท เพื่อส่งเสริมให้ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ต่อไป 2. เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีและเชื้อโรคปนเปื้อน ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) จากตลาดและร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่ รวมจำนวน 109 ตัวอย่าง 3. เก็บตัวอย่างอาหารจากซูเปอร์มาร์เก็ตในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 17 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่าง 4. ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการตรวจแนะนำด้านการสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ประกอบการอาหาร คือ ตลาดสด ร้านอาหาร และมินิมาร์ท ในพื้นที่ โดยข้าราชการและลูกจ้าง ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จำนวน 13 คน ออกปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันวันละ 7 คน ปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 17.00 น. – 21.00 น. จำนวน 4 ครั้ง

** ปัญหาของโครงการ : -

** อุปสรรคของโครงการ : -

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-24)

40.00

24/02/2566 :1.ดำเนินการเก็บตัวอย่างผักสดในตลาดประเภทที่ 1 เพื่อตรวจวิเคราะห์ยาฆ่าแมลงปนเปื้อนในผักสด จำนวน 96 ตัวอย่าง 2.ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหาร ในสถานประกอบการอาหารประเภทร้านจำหน่ายอาหาร มินิมาร์ท ตลาด ซุเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 10 ครั้ง

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-23)

30.00

23/01/2566 : - เดือนตุลาคม 2565 ดำเนินการขออนุมัติดโครงการ/กิจกรรม ตรวจประเมินร้านจำหน่ายอาหารกับรถ Mobile Unit จำนวน 1 แห่ง ตรวจสุขลักษณะการล้างตลาดเอกชนในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง - เดือนพฤศจิกายน 2565 ดำเนินการจัดทำข้อมูลสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ จำนวน 138 แห่ง พร้อมจัดทำคำสั่งและแผนปฏิบัติการตามโครงการ ตรวจประเมินร้านจำหน่ายอาหารกับรถ Mobile Unit จำนวน 1 แห่ง ตรวจสุขลักษณะการล้างตลาดเอกชนในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง - เดือนธันวาคม 2565 ดำเนินการตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนและสถานศึกษาในพื้นที่ จำนวน 16 แห่ง ตรวจประเมินการจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ จำนวน 5 แห่ง - เดือนมกราคม 2566 ดำเนินการตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนและสถานศึกษาในพื้นที่ จำนวน 6 แห่ง ตรวจประเมินการจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ จำนวน 5 แห่ง เก็บตัวอย่างผักสดในตลาดประเภทที่ 1 เพื่อตรวจวิเคราะห์ยาฆ่าแมลงปนเปื้อนในผักสด จำนวน 94 ตัวอย่าง ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหาร ในสถานประกอบการอาหาร จำนวน 10 ครั้ง

** ปัญหาของโครงการ : -

** อุปสรรคของโครงการ : -

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. ขออนุมัติโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำคำสั่งและแผนการปฏิบัติงาน
:5.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. ขออนุมัติเงินงวด
:5.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. ดำเนินกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสารพิษและเชื้อโรคในอาหารและน้ำด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) 9 ชนิด
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. ดำเนินกิจกรรมที่ 2 ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการตรวจแนะนำด้านการสุขาภิบาลอาหาร ร้านอาหารตลาดสด ซูเปอร์มาเก็ต และมินิมาร์ทในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 20 วัน
:10.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. ดำเนินกิจกรรมที่ 3 การตรวจสอบเฝ้าระวัง รณรงค์ ประชาสัมพันธ์งานด้านสุขาภิบาลอาหาร ของบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเดือนมีนาคม 2566 จำนวน 4 ครั้ง
:10.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. ดำเนินกิจกรรมที่ 4 การพัฒนางานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน โดยจัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายจำนวน 65 คน จำนวน 1 ครั้ง/ปี
:10.00%
เริ่มต้น :2023-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:8. ดำเนินกิจกรรมที่ 5 การพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหาร จำนวน 1 ครั้ง/ปี
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:9. รายงานผลการดำเนินการประจำเดือน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 10
:10. สรุปผลการดำเนินการเพื่อรายงานแจ้งผู้บังคับบัญชา
:10.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50240000-7173

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50240000-7173

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5024-972

ตัวชี้วัด : ร้อยละของสถานประกอบการอาหารได้มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ ระดับดี/เกรด C ตามกฎหมาย (ระดับ 3 ดาว))

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
78.13

0 / 0
2
73.68

0 / 0
3
77.11

0 / 0
4
100.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **