ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย : 50290000-7142

สำนักงานเขตสาทร : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษในกรุงเทพมหานคร จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ในรอบ ๕ ปีล่าสุด (ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒) พบว่าอัตราการป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ ๖๘.๒ ๘๗.๘, ๙๑.๑, ๑๐๐.๖ และ ๙๑.๒๐ ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๑ และลดลง ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ บ่งชี้ว่ากรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์รวมของวัตถุดิบอาหาร เป็นแหล่งกระจายสินค้า วัตถุดิบอาหารส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร อีกทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม และการขยายตัวของเขตเมือง อัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดสถานประกอบการอาหารเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มีผลมาจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในผู้ประกอบการรายย่อย อีกทั้งยังส่งผลให้รูปแบบการประกอบธุรกิจด้านอาหารมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตคนเมือง ที่มีแต่ความเร่งรีบต้องการบริการที่มีความสะดวกสบาย เช่น การเพิ่มจำนวนของธุรกิจจำหน่ายอาหารแบบออนไลน์และบริการส่งถึงที่ (Ready-to-Eat Food Delivery) การจำหน่ายอาหารในลักษณะของ Food Truck รถเร่ขายอาหารแบบให้บริการเข้าถึงชุมชน ประกอบกับการเคลื่อนย้ายและเพิ่มจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ ขาดความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขลักษณะและความปลอดภัยของอาหาร และจากการเจริญเติบโตของธุรกิจอาหารที่มีเป็นจำนวนมากนั้น หากขาดการบริหารจัดการที่ดีและระบบตรวจสอบควบคุมกำกับของเจ้าหน้าที่ภาครัฐขาดประสิทธิภาพไม่สามารถควบคุมกำกับให้สถานประกอบการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่โดยปกติสุขของประชาชนได้ เช่น เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญจากการประกอบกิจการอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น เสียง ความร้อน การระบายน้ำเสีย หรือฝุ่นละออง ดังนั้น สำนักงานเขตสาทร จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยขึ้น ทั้งนี้ เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลสถานประกอบการด้านอาหารทุกกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เขตสาทร เพื่อก่อประโยชน์ต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองจากการบริโภคอาหารปลอดภัย

50290400/50290400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตสาทร ในการปฏิบัติงานเพื่อการเสริมสร้างสุขาภิบาลเมืองที่ดี

เป้าหมายของโครงการ

3.1 มีการดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตสาทร โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-25)

100.00

การดำเนินโครงการ เดือน กันยายน 2566 1. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหารตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ครั้ง 3. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อทดสอบหาสารปนเปื้อนด้านเคมีและจุลชีววิทยาและส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและมีการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. ติดตามประเมินผลจัดทำรายงาน และสรุปลการดำเนินงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น การใช้จ่ายเงินงบประมาณ - เบิกจ่ายค่าอาหารว่าง เครื่องดื่ม และวัสดุอุปกรณ์ สำหรับจัดประชุมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา เดือนกันยายน 2566 จำนวน 5,815 บาท - เบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาปกติ เดือนเมษายน-กันยายน จำนวน 15,000 บาท - เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เดือนธันวาคม-สิงหาคม จำนวน 16,800 บาท สรุปผลการดำเนินการ เดือนกันยายน 2566 ข้อมูล ณ วันที่ 25 กันยายน 2566 6.1 จำนวนสถานประกอบการด้านอาหาร พบว่ามีสถานประกอบการ จำนวน 508 แห่ง ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยแล้ว จำนวน 508 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 แบ่งออกเป็นระดับดี(C) 119 แห่ง ระดับดีมาก(B) 246 แห่ง และระดับดีเลิศ(A) 143 แห่ง 6.2 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจ - ด้านเคมี จำนวน 14 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 - ด้านจุลินทรีย์ จำนวน 26 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-23)

90.00

การดำเนินโครงการ เดือน สิงหาคม 2566 1. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหารตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ครั้ง 3. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อทดสอบหาสารปนเปื้อนด้านเคมีและจุลชีววิทยาและส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและมีการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. ติดตามประเมินผลจัดทำรายงาน และสรุปลการดำเนินงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น การใช้จ่ายเงินงบประมาณ - เบิกจ่ายค่าตัวอย่างอาหาร เดือนสิงหาคม 2566 จำนวน 3,000บาท สรุปผลการดำเนินการ เดือนสิงหาคม 2566 ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2566 6.1 จำนวนสถานประกอบการด้านอาหาร พบว่ามีสถานประกอบการ จำนวน 508 แห่ง ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยแล้ว จำนวน 503 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 99.02 แบ่งออกเป็นระดับดี(C) 117 แห่ง ระดับดีมาก(B) 243 แห่ง และระดับดีเลิศ(A) 143 แห่ง 6.2 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจ - ด้านเคมี จำนวน 288 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 - ด้านจุลินทรีย์ จำนวน 230 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-07-24)

85.00

การดำเนินโครงการ เดือน กรกฎาคม 2566 1. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหารตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ครั้ง 3. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อทดสอบหาสารปนเปื้อนด้านเคมีและจุลชีววิทยาและส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและมีการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. ติดตามประเมินผลจัดทำรายงาน และสรุปลการดำเนินงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น การใช้จ่ายเงินงบประมาณ - เบิกจ่ายค่าตัวอย่างอาหาร เดือนกรกฎาคม 2566 จำนวน 3,000บาท สรุปผลการดำเนินการ เดือนกรกฎาคม 2566 ข้อมูล ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2566 6.1 จำนวนสถานประกอบการด้านอาหาร พบว่ามีสถานประกอบการ จำนวน 67 แห่ง ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยแล้ว จำนวน 67 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 แบ่งออกเป็นระดับดี(C) 22 แห่ง ระดับดีมาก(B) 21 แห่ง และระดับดีเลิศ(A) 24 แห่ง 6.2 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจ - ด้านเคมี จำนวน 288 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 . - ด้านจุลินทรีย์ จำนวน 230 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 63.00 (2023-06-23)

63.00

การดำเนินโครงการ เดือน พฤษภาคม 2566 1. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหารตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ครั้ง 3. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อทดสอบหาสารปนเปื้อนด้านเคมีและจุลชีววิทยาและส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและมีการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. ติดตามประเมินผลจัดทำรายงาน และสรุปลการดำเนินงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น การใช้จ่ายเงินงบประมาณ - เบิกจ่ายค่าตัวอย่างอาหาร เดือนมิถุนายน 2566 จำนวน 3,000บาท สรุปผลการดำเนินการ เดือนพฤษภาคม 2566 ข้อมูล ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2566 6.1 จำนวนสถานประกอบการด้านอาหาร พบว่ามีสถานประกอบการ จำนวน 46 แห่ง ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยแล้ว จำนวน 13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 แบ่งออกเป็นระดับดี(C) 4 แห่ง ระดับดีมาก(B) 6 แห่ง และระดับดีเลิศ(A) 3 แห่ง 6.2 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจ - ด้านเคมี จำนวน 271 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 - ด้านจุลินทรีย์ จำนวน 170 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-25)

60.00

การดำเนินโครงการ เดือน พฤษภาคม 2566 1. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหารตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ครั้ง 3. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อทดสอบหาสารปนเปื้อนด้านเคมีและจุลชีววิทยาและส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและมีการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. ติดตามประเมินผลจัดทำรายงาน และสรุปลการดำเนินงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น การใช้จ่ายเงินงบประมาณ - เบิกจ่ายค่าตัวอย่างอาหาร เดือนพฤษภาคม 2566 จำนวน 3,000บาท สรุปผลการดำเนินการ เดือนพฤษภาคม 2566 ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 6.1 จำนวนสถานประกอบการด้านอาหาร พบว่ามีสถานประกอบการ จำนวน 102 แห่ง ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยแล้ว จำนวน 102 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 แบ่งออกเป็นระดับดี(C) 11 แห่ง ระดับดีมาก(B) 53 แห่ง และระดับดีเลิศ(A) 38 แห่ง 6.2 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจ - ด้านเคมี จำนวน 425 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 - ด้านจุลินทรีย์ จำนวน 326 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-04-25)

55.00

การดำเนินโครงการ เดือน เมษายน 2566 1. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหารตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ครั้ง 3. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อทดสอบหาสารปนเปื้อนด้านเคมีและจุลชีววิทยาและส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและมีการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. ติดตามประเมินผลจัดทำรายงาน และสรุปลการดำเนินงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น การใช้จ่ายเงินงบประมาณ - เบิกจ่ายค่าตัวอย่างอาหาร เดือนเมษายน 2566 จำนวน 3,000บาท - เบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาปกติ เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ จำนวน 3,000 บาท สรุปผลการดำเนินการ เดือนเมษายน 2566 ข้อมูล ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 6.1 จำนวนสถานประกอบการด้านอาหาร พบว่ามีสถานประกอบการ จำนวน 46 แห่ง ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยแล้ว จำนวน 34 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 แบ่งออกเป็นระดับดี(C) 1 แห่ง ระดับดีมาก(B) 71 แห่ง และระดับดีเลิศ(A) 6 แห่ง 6.2 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจ - ด้านเคมี จำนวน 320 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 - ด้านจุลินทรีย์ จำนวน 289 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-03-27)

45.00

การดำเนินโครงการ เดือน มีนาคม 2566 1. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหารตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ครั้ง 3. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อทดสอบหาสารปนเปื้อนด้านเคมีและจุลชีววิทยาและส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและมีการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. ติดตามประเมินผลจัดทำรายงาน และสรุปลการดำเนินงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น การใช้จ่ายเงินงบประมาณ - เบิกจ่ายค่าตัวอย่างอาหาร เดือนมีนาคม 2566 จำนวน 3,000บาท สรุปผลการดำเนินการ เดือนมีนาคม 2566 ข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 - 20 มีนาคม 2566 6.1 จำนวนสถานประกอบการด้านอาหาร พบว่ามีสถานประกอบการ จำนวน 46 แห่ง ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยแล้ว จำนวน 46 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 แบ่งออกเป็นระดับดี(C) 13 แห่ง ระดับดีมาก(B) 27 แห่ง และระดับดีเลิศ(A) 6 แห่ง 6.2 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจ - ด้านเคมี จำนวน 269 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 - ด้านจุลินทรีย์ จำนวน 216 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 1.38 ไม่พบการปนเปื้อน 213 ตัวอย่าง เป็นร้อยละ 98.62 สรุปผลการดำเนินการ ไตรมาสที่ 2 ข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 20 มีนาคม 2566 6.1 จำนวนสถานประกอบการด้านอาหาร พบว่ามีสถานประกอบการ จำนวน 503 แห่ง ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยแล้ว จำนวน 237 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 47.11 แบ่งออกเป็นระดับดี(C) 65 แห่ง (ร้อยละ 100) ระดับดีมาก(B) 119 แห่ง (ร้อยละ119) และระดับดีเลิศ(A) 53 แห่ง (ร้อยละ106)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-03-23)

100.00

23/03/2566 : อบรมเชิงปฏิบัติการ “รางวัลชีวิต พิชิตบุหรี่” ในวันที่ 7 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมสาทร สำนักงานเขตสาทร แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กทม.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 39.00 (2023-02-21)

39.00

การดำเนินโครงการ เดือน กุมภาพันธ์ 2566 1. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหารตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 ครั้ง 3. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อทดสอบหาสารปนเปื้อนด้านเคมีและจุลชีววิทยาและส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและมีการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. ติดตามประเมินผลจัดทำรายงาน และสรุปลการดำเนินงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น การใช้จ่ายเงินงบประมาณ - เบิกจ่ายค่าตัวอย่างอาหาร เดือนกุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 3,000บาท - เบิกค่าวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล จำนวน 4,995 บาท สรุปผลการดำเนินการ เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ข้อมูล ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 6.1 จำนวนสถานประกอบการด้านอาหาร พบว่ามีสถานประกอบการ จำนวน 544 แห่ง ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยแล้ว จำนวน 172 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 31.61 แบ่งออกเป็นระดับดี(C) 51 แห่ง ระดับดีมาก(B) 79 แห่ง และระดับดีเลิศ(A) 42 แห่ง 6.2 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจ - ด้านเคมี จำนวน 236 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 - ด้านจุลินทรีย์ จำนวน 167 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด เป็นร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-25)

20.00

การดำเนินโครงการ เดือน กุมภาพันธ์ 1. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในตลาดพื้นที่เขตสาทร 2. เบิกจ่ายค่าตัวอย่างอาหาร เดือนพฤศจิกายน 2565 จำนวน 3,000บาท/เดือนธันวาคม 2565 จำนวน 3,000 บาท/เดือนมกราคม 2566 จำนวน 3,000บาท 3. ตรวจประเมินสุขลักษณะและคุณภาพอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร เพื่อให้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย 4. ปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย สำหรับข้าราชการและลูกจ้างฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ปีงบประมาณ 2566 5. ตรวจคุณภาพอาหารร่วมกับหน่วยตรวจคุณภาพเคลื่อนที่กรุงเทพมหานครในสถานประกอบการด้านอาหาร 6. สรุปผลการดำเนินการ 6.1 จำนวนสถานประกอบการด้านอาหาร ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2565 พบว่ามีสถานประกอบการ จำนวน 499 แห่ง ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยแล้ว จำนวน 96 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 19.75 6.2 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจ - ด้านเคมี จำนวน 749 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด - ด้านจุลินทรีย์ จำนวน 1,157ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:สำรวจข้อมูลเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำแผนการตรวจเฝ้าระวังด้านสุขลักษณะและคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหารและตรวจประเมินตามแผนที่กำหนด
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:จัดซื้อตัวอย่างอาหารในสถานประกอบอาหาร
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:จัดประชุมผู้ประกอบการตลาด/ผู้ขายของในตลาด ตามกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย
:20.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:จัดทำแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สำหรับข้าราชการและลูกจ้างและปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนด
:10.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:จัดทำแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สำหรับบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนด
:10.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ตามกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 1 ครั้ง
:10.00%
เริ่มต้น :2023-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:สรุปผลการดำเนินงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50290000-7142

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50290000-7142

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5029-858

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.55

100 / 100
2
59.20

0 / 0
3
77.56

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **