ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาคลองสวนหลวง 2 ในพื้นที่เขตบางคอแหลม : 50300000-6604

สำนักงานเขตบางคอแหลม : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

สำนักงานเขตบางคอแหลม

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 2

หลักการและเหตุผล

คลองในอดีตนั้นมีบทบาทสำคัญมาก ตลอดคลองสองฝั่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของมนุษย์มีการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตร เป็นแหล่งผลิตอาหาร แหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรม ประเพณีทางน้ำ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่จากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนไทยมีการใช้น้ำจากระบบประปา ปลูกสร้างบ้านเรือนรุกล้ำคูคลอง รวมถึงการถมพื้นที่ริมน้ำ ทำให้แหล่งน้ำต่าง ๆ กลายเป็นเพียงที่รองรับและระบายน้ำฝน ไม่ได้รับความดูแล เช่นเดียวกับคลองคลองสวนหลวง 2 ที่ประสบกับปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำ ปัญหาขยะ น้ำตื้นเขิน เนื่องจากคลองเป็นที่รองรับน้ำเสียแหล่งของเสียจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ เช่น บ้านเรือน ชุมชน อาคารสงเคราะห์สำนักงานเขตบางคอแหลม วัด โรงเรียน ตลาด และสถานประกอบการ ที่ทิ้งลงมาโดยไม่ได้รับการบำบัด ทำให้ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ อีกทั้งยังทำให้สูญเสียความสวยงามของทัศนียภาพริมฝั่งคลอง ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชนดั้งเดิมที่เหมาะจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ หรือเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน กรอบและทิศทางการพัฒนากรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2566 สอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาลและผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การระบายน้ำ การฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคูคลอง การอนุรักษ์คูคลอง และการปรับปรุงภูมิทัศน์คูคลอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ของสำนักงานเขตบางคอแหลม ในการพัฒนา คลองสวนหลวง 2 ที่มีระยะความยาวคลองประมาณ 1,200 เมตร โดยสำนักงานเขตบางคอแหลมได้มีการจัดประชุมร่วมกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่อยากให้มีการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ เพื่อจัดการปัญหาขยะในลำคลอง ปัญหาน้ำเน่าเสีย และเพิ่มความสวยงามของทัศนียภาพริมคลอง โดยนำศาสตร์พระราชาเรื่องเข้าใจเข้าถึงพัฒนามาใช้ เข้าใจ คือ เข้าใจพื้นที่ เข้าใจชุมชน ประชาชน และวิถีชีวิตของคนในชุมชน เข้าถึง โดยการระเบิดจากข้างใน คือ เน้นให้ประชาชนตระหนักหรือเห็นความสำคัญของการพัฒนาและเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิด ความรู้ ความต้องการที่มาจากประชาชน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่การพัฒนาที่มาจากการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง จากสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน สำนักงานเขตบางคอแหลมจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงพัฒนาคลองสวนหลวง 2 โดยส่งเสริมให้หน่วยงานและชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการรักษาแม่น้ำลำคลอง ให้กับประชาชนทุกช่วงทุกวัยโดยเริ่มตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงผู้สูงอายุ โดยการทำกิจกรรมที่มีการบูรณาการร่วมกัน เพื่อปรับปรุงคลองสวนหลวง 2 ให้สะอาด ประชาชนมีสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี และมีการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสร้างอัตลักษณ์ให้โดดเด่นโดยการตกแต่งประดับสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่

50300300/50300300

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๒.๑ เพื่อจัดการปัญหาขยะในลำคลอง และปัญหาน้ำเน่าเสียของคลองสวนหลวง 2 ๒.๒ เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ประชาชนในพื้นที่และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมกับการดูแลรักษา ปรับปรุง และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง ๒.๓ เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองให้เป็นจุดพักผ่อนและจุดชมวิวทิวทัศน์เพื่อสร้าง Landmark หรือจุด Check in แห่งใหม่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน 2.4 เพื่อสร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)

เป้าหมายของโครงการ

3.1 ปัญหาขยะ และน้ำเน่าเสีย ได้รับการแก้ไขในทันทีโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 3.2 ภูมิทัศน์บริเวณคลองสวนหลวง 2 มีความสวยงาม ร่มรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อย มีไฟฟ้าสว่าง และมีจุด Check in ของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในเขตบางคอแหลม 3.3 ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบคลองมีความภูมิใจเพราะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการเป็นจิตอาสาดูแลรักษาคลองสวนหลวง 2 อย่างยั่งยืน 3.4 สามารถสร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ
๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน
๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร%
๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-25)

100.00

25/09/2566 : ผลสำเร็จของโครงการ ณ ปัจจุบัน มีดังนี้ 1. เข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด (การประชุมการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองตามตัวชี้วัดเจรจาตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ครั้งที่ 2/2566 วันจันทนร์ที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง) 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขตสาทรส่งให้สำนักการ ระบายน้ำ และนำแผนฯ ส่งให้สำนักการระบายน้ำ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 ตามหนังสือที่ กท 6901/2081 3. คัดเลือกคลองสวนหลวง 2 เป็นคลองเป้าหมาย เพื่อดำเนินการพัฒนาให้เกิดความเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น และพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์ จุดเช็คอิน (Check in) 4. ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) ลงพื้นที่ตรวจสอบจริง จำนวน 5 ครั้ง (อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 5. บำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่บริเวณในความรับผิดชอบ 6. วิธีการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่ - สร้างภาพวาด Wall Art บริเวณผนังอาคารบ้านเรือน ทางเดินเข้าคลองสวนหลวง 2 (เจริญกรุง 103) แสดงถึงวิถีชีวิต สถานที่ วัฒนธรรม และอาหารของชุมชนไทยมุสลิมในพื้นที่ริมคลอง โดยได้รับความสนับสนุนฝีมือจากคณะนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (วิทยาลัยเพาะช่าง) - Street Art บริเวณรั้วบ้านริมคลอง แสดงวิถีชีวิตริมคลอง เพื่อพัฒนาให้บริเวณทางเดินริมคลองสวนหลวง 2 สวยงามและมีชีวิตชีวามากขึ้น - สร้างสวมหย่อมและเพิ่มโต๊ะนั่งบริเวณริมคอง เพื่อเพิ่มพื้นที่กิจกรรมให้กับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว - สร้างจุดเช็คอินหรือจุดถ่ายรูปบริเวณริมคลองตลอดเส้นทางคลองสวนหลวง 2 - ติดป้าย “คลองสวนหลวง ในอดีต” เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นวิถีชีวิตริมคลองในอดีตของประชาชนชุมชนริมคลองสวนหลวง 2 (เดิมชื่อว่าคลองสวนหลวง 1) - จัดกิจกรรมตลาดนัดชุมชนบริเวณริมคลองสวนหลวง 2 ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ของ ต้นเดือน 7. บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง - การกำหนดจุดทิ้งขยะ วิธีการโดยการตั้งจุดทิ้งขยะบริเวณริมคลองสวนหลวง 2 - การนัดทิ้ง-นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ วิธีการโดยประชาสัมพันธ์และแจกประกาศสำนักงานเขตบางคอแหลม เรื่อง กำหนดเวลานัดทิ้ง นัดเก็บมูลฝอยชิ้นใหญ่และมูลฝอยอันตราย - การเก็บขนขยะ วิธีการโดย เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ชักลากขยะชิ้นใหญ่ในชุมชนออกมาบริเวณปากซอยเจริญกรุง 103 ตามวันและเวลาที่นัดไว้ และมีการเก็บขยะในชุมชนโดยการชักลาก - การตั้งจุด “ทิ้งจับปรับ” (ถ้ามี) จำนวน 1 จุด วิธีการโดย ฝ่ายเทศกิจลงพื้นที่ตรวจและรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ทิ้งขยะ ลงในแม่น้ำลำคลอง และตั้งจุดจับปรับการทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างจริงจัง บริเวณคลองสวนหลวง 2 เขตบางคอแหลม ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบการกระทำความผิด 8. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง โดยครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 1) การคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” 2) การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 3) การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) 4) การจัดการน้ำเสียชุมชน 5) การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ 6) การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย โดย สำนักงานเขตบางคอแหลม ลงพื้นที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์ (Output) จำนวน......8.....ครั้ง ให้กับประชาชนในชุมชนริมคลอง สวนหลวง 2 ได้แก่ 1. ชุมชนบางคอแหลม 2. ชุมชนสวนหลวง 1 3. ชุมชนบางอุทิศ 4. ชุมชนวัดพระยาไกร ระยะ 3 5. ชุมชนหลังสามร้อยห้อง และ 6. ชุมชนร่วมใจพัฒนา โดยแบ่งเป็นเรื่องการคัดแยกขยะตามโครงการ “ไม่เทรวม” การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์และการนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) จำนวน 6 ครั้ง การจัดการน้ำเสีย จำนวน 1 ครั้ง การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ จำนวน 1 ครั้ง และการสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอยจำนวน 1 ครั้ง 9. สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จำนวน 4 เครือข่าย 1.) เพจ Facebook “คลองสวนหลวง 2 บางคอแหลม” มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 113 ราย 2.) เพจ Facebook “ฝ่ายปกครอง เขตบางคอแหลม” มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 1,700 ราย 3. เพจ Facebook “สำนักงานเขตบางคอแหลม” มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 1,500 ราย 4.) กลุ่ม Line “ประสานงานชุมชน by ฝ่ายพัฒฯ” มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 54 ราย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-25)

90.00

25/08/2566 : ปัจจุบันได้ดำเนินการ คือ 1. เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักระบายน้ำกำหนด 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขต 3. ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) - ติดตั้งป้ายบอกทาง ซึ่งได้รับการสนับสนุนป้ายจากสำนักการระบายน้ำ - ทาสีราวกันตกริมคลอง - ทาสี และดูแลรักษาความสะอาดบริเวณจุดเช็คอิน -Wall Art (ศิลปะภาพวาดบนผนัง) บริเวณผนังอาคารบ้านเรือน ทางเข้าคลองสวนหลวง 2 (ซอยเจริญกรุง 103) เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่ และจุดเช็คอิน ได้รับการสนับสนุนฝีมือจากคณะนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (วิทยาลัยเพาะช่าง) -ปรับปรุงและพัฒนาภูมิทัศน์บริเวณริมคลอง โดยความร่วมมือของบุคลากรภายในสำนักงานเขต ภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ และประชาชนในชุมชน 4. บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง - ติดตั้งจุดคัดแยกขยะบริเวณริมคลอง - ผู้อำนวยการเขต และเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สอบถามความต้องการและปัญหาในชุมชนที่อยู่บริเวณคลอง - ประชาสัมพันธ์และนัดจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ - เก็บขยะชิ้นใหญ่ 5. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง 6. สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ได้แก่ Facebook : คลองสวนหลวง 2 บางคอแหลม และ กลุ่ม Line ของเจ้าหน้าที่เขตฯ คณะกรรมการชุมชนและตัวแทนประชาชนริมคลอง เป้าหมายในอนาคต: 1. ปรับปรุงและปลูกต้นไม้เพิ่มเติมบริเวณคลอง เพื่อสร้างความสวยงาม (31 สิงหาคม 2566) 2. รณรงค์เรื่องความสะอาด และการดูแลรักษาคลอง (ภายในเดือนกันยายน 2566)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-07-21)

5.00

21/07/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการเก็บขยะทุกเดือน ตัดต้นไม้ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงในคูคลอง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. เสนอโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาคลองสวนหลวง 2 ในพื้นที่เขตบางคอแหลม ปี 2566และจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
:5.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำคำสั่งคณะทำงานฯ
:5.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. ประชุมคณะทำงานฯ เพื่อปรึกษาหารือการปรับปรุงพัฒนาคลองและจัดทำแผนประชาสัมพันธ์
:5.00%
เริ่มต้น :2023-04-16 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-16 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ป้ายอำนวยความสะดวก (ชื่อแหล่งน้ำ,ประวัติศาสตร์พื้นที่ ฯลฯ) ป้ายประดับต่าง ๆ ไม้ดอกไ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. คัดเลือกพื้นที่ดำเนินการพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิว/จุดเช็คอิน 1 พื้นที่
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง เช่น การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง - นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะ และการตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ” เป็นต้น
:20.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง
:20.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:8. สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)
:20.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:รายงานโครงการ
:5.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50300000-6604

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50300000-6604

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5030-1088

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับการปรับภูมิทัศน์ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
50.00

0 / 0
3
75.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **