ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 80
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล (พัทธนันท์)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานคร ได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุง ยกมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหาร ในสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารในโรงเรียน และตลาดสด รวมทั้งเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร โดยการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มอบนโยบายให้ทุกสำนักงานเขตดำเนินการปรับปรุง และแก้ไขปัญหาการสุขาภิบาลอาหารให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่เขต โดยต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วยกับคุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาด และปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการ และปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ทุกกระบวนการ ผู้ประกอบการ ผู้ปรุงอาหาร และผู้สัมผัสอาหาร ต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านการสุขาภิบาลอาหาร เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจำหน่ายอาหาร การประกอบ ปรุง อย่างถูกสุขลักษณะ และ มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี นอกจากนี้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตรวจสอบ ด้านสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร และดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันมิให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหารที่วางจำหน่ายโดยการเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ในเรื่องอาหารปลอดภัยบรรลุวัตถุประสงค์และดำเนินไปสู่เป้าหมายเขตอาหารปลอดภัย ในปีงบประมาณ 2566 รวมทั้งเพื่อการรักษาสถานภาพของสถานประกอบการอาหารที่ได้รับมาตรฐานแล้วคงสภาพอยู่สม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์และสุขภาพ ที่ดีของประชาชน ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตราชเทวีจึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยขึ้น
50320400/50320400
1 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร 2 เพื่อปรับปรุง พัฒนา ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหาร 3 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการอาหารเกิดจิตสำนึกในการประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
1 สถานประกอบการอาหารทุกประเภทในพื้นที่เขตราชเทวี ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบ การปนเปื้อนของสารพิษและเชื้อโรค 2 จัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลที่ถูกต้องให้กับผู้ประกอบการอาหารและประชาชนในพื้นที่เขตราชเทวี
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-08-26)
26/08/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-07-24)
24/07/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-24)
24/05/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-03-21)
21/03/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-02-21)
21/02/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยงข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : 1. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหารตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3. ตรวจและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อทดสอบหาสารปนเปื้อนด้านเคมีและจุลชีววิทยาและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค ร้อยละ 98 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 96
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **