ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายเทศกิจ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
อุบัติเหตุจากการจราจรทางถนน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของหลายประเทศทั่วโลก จำนวนผู้บาดเจ็บ ผู้พิการ และผู้เสียชีวิต มีแนวโน้วเพิ่มขึ้นทุกปี ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงและมีแนวโน้มที่ไม่ลดลง โดยกลุ่มช่วงอายุที่มีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดเกิดในช่วงอายุ 15 – 19 ปี โดยเฉพาะในกลุ่มรถจักรยานยนต์ซึ่งถือเป็นรูปแบบการ เดินทางหลักของประชาชนไทย ถึงแม้ว่าสถานการณ์ โรคคิดเชื้อโควิค-19 จะส่งผลให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตลดลง แต่ยังนับว่าเป็นสถิติที่สูงกว่าค่าเป้าหมายในการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน การลดอัตราการเสียชีวิตจาก อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณปีละ 0.7 ต่อประชากรแสนคนเท่านั้น และอัตราการเสียชีวิตไม่ลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี ในบางปียังพบอัตราผู้เสียชีวิตเพิ่ม ขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยได้ตั้งค่าเป้าหมายในการลด อัตราการเสียชีวิตอุบัติเหตุทางถนนไว้ที่ 12 ต่อประชากร แสนคนภายในปี พ.ศ. 2570 ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยต้องลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ปีละ 1.2 ต่อประชากรแสนคนอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ได้แก่ พฤติกรรม การขับรถเร็ว เมาแล้วขับ ขับรถจักรยานยนต์ผาดโผนโดยไม่สวมหมวกกันน็อก สถาพรถมีการดัดแปลง ถนนชำรุด ออกแบบไม่เหมาะสมไม่มีป้ายแจ้งเตือน รวมทั้งค่านิยม ทัศนคติต่อการใช้รถใช้ถนนของประชาชน เป็นต้น จากสถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นความท้าทาย สำคัญของประเทศไทยในการลดอัตราการเสียชีวิตจาก อุบัติเหตุทางถนนให้ได้ตามเป้าหมายที่ได้ถูกกำหนดไว้ ในยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน โดยนำไปสู่ การยกระดับการพัฒนาระบบป้องกันไปจนกระทั่งถึงการ แก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพเร่งด่วนปัญหาหนึ่งของระบบสาธารณสุขของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายในการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนที่กำหนดไว้จึงควรมีการกำหนดมาตรการที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นไปจนกระทั่งถึงระยะยาว และส่งเสริมให้เกิดการแก้ไขสาเหตุของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
50330900/50330900
1. เพื่อจัดการจุดเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน 2. เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 3. เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน
ดำเนินการปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนในส่วนที่รับผิดชอบและสนับสนุนแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ ตามที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด |
๑.๒.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน% |
๑.๒.๑.๑ เสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อลดความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการก่อ อาชญากรรม |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)
29/09/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-31)
31/08/2566 : ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตคลองเตย เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมตรวจสอบสภาพถนนและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-31)
31/07/2566 : อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตคลองเตย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-23)
อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตคลองเตย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-31)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-04-26)
26/04/2566 : อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตคลองเตย จำนวน 7 จุด ได้แก่ 1. แยกอโศกมนตรี (ถนนสุขุมวิทตัดแยกอโศกมนตรี) 2. แยกเกษมราษฎร์ (ถนนพระราม 4 ตัดถนนเกษมราษฎร์) ใกล้โลตัสพระราม 4 3. ซอยท่านหญิงพวงรัตน์ประไพ (สุขุมวิท 26) 4. แยกพระโขนง (ถนนสุขุมวิทตัดถนนพระราม 4) 5. แยกกล้วยน้ำไท (ถนนพระราม 4 ตัดถนนกล้วยน้ำไท) 6. ถนนพระราม 4 ช่วงคลองเตย 7. ถนนสุขุมวิทตัดถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-03-26)
26/03/2566 : จัดทำโครงการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตคลองเตย และส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งแล้วตามหนังสือสำนักงานเขตคลองเตย ที่ กท 7209/930 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-25)
25/02/2566 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำโครงการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตคลองเตย และส่งให้สำนักการจราจรและขนส่ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-26)
26/01/2566 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการเตรียมการเข้าร่วมประชุมตามตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุถนน” ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำแผนการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักการจราจรและขนส่งกำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **