ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวศรีสุดา เนียมปาน ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน ฝ่ายเทศกิจ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สถานการณ์ปัจจุบันการเกิดอุบัติเหตุ ความไม่ปลอดภัยในการสัญจรทางถนนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนในกรุงเทพมหานคร สำนักการจราจรและขนส่งในฐานะหน่วยงานหลักจึงได้กำหนดตัวชี้วัดเจรจาตกลง ระดับความสำเร็จในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในจุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่มีความถี่การเกิดอุบัติเหตุไม่น้อยกว่า 3 ครั้งในรอบ 1 ปี โดยมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตซึ่งพิจารณาคัดเลือกจากจุดเสี่ยงจากฐานข้อมูลสถิติอุบัติเหตุกำหนดให้เป็นจุดดำเนินการและเป็นการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานสนับสนุนและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานเขตประเวศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวนี้ขึ้น
50340900/50340900
2.1 เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทั้งทางกายภาพและพฤติกรรม 2.2 เพื่อปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยงทางอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล 2.3 เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนหรือผู้ร่วมทางเกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2.4 เพื่อให้พื้นที่บริเวณจุดเสี่ยงทางอุบัติเหตุที่กำหนดเกิดความเรียบร้อย สะอาด และปลอดภัย
3.1 พื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุของสำนักงานเขตประเวศ มีจำนวน 3 จุด ดังนี้ 3.1 แยกถนนเชื่อมต่อพัฒนาการ ตัดถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 3.2 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (หน้าสวนหลวง ร.9) 3.3 แยกศรีอุดม (ถนนศรีนครินทร์ - ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) 3.2 การแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดจากสำนักการจราจรและขนส่งในพื้นที่ เขตประเวศได้รับการแก้ไขปรับปรุงครบตามจำนวน
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-04)
04/09/2566 : -สำนักการจราจรและขนส่งได้จัดส่งหนังสือที่ กท 1602/1362 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2566 เรื่องขอส่งแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชนผู้สัญจรบริเวณจุดเสี่ยงที่ได้รับการปรับปรุง ตามตัวชี้วัด “ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ” ตามโครงการบูรณาการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่เขตประเวศ และได้ทอดแบบสำรวจออนไลน์ผ่าน Google Form แก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 45 ชุด เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 และสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนผู้สัญจรบริเวณจุดเสี่ยงที่ได้รับการปรบปรุงไม่น้อยกว่าระดับร้อยละ 80 สรุป สำนักงานเขตประเวศสามารถดำเนินการได้ ร้อยละ 100 (45 ชุด X 100 หาร 45 ชุด) ความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (ทางสจส.กำหนดไว้จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ชุด) เพื่อนำไปประกอบหลักฐานการประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด “ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อสำนักการจราจรและขนส่งจักได้รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงานจัดส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ตามที่กำหนดไว้ในตัวชี้วัดฯ ต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-15)
15/08/2566 : ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตประเวศ ได้ดำเนินการตามการประชุมตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน” ตัวชี้วัดเจรจาตกลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยร่วมกับหน่วยงานสำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา สำนักเทศกิจ สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเขต เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom (Meeting ID : 275 472 6901 Passcode : 123456) และขอระบุรายละเอียดว่ามีการประชุมร่วมกับสำนักการจราจรและขนส่งแล้วและมอบหมายจุดเสี่ยงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 และต่อมาได้ดำเนินการปฎิบัติตามแผนและโครงการ ขั้นตอนที่ 1 จัดทำและขออนุมัติโครงการ ขั้นตอนที่ 2 จัดประชุม ศปถ.เขตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือในการลดอุบัติเหตุในพื้นที่จุดที่รับผิดชอบทั้งทางกายภาพและพฤติกรรม ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ โดยหน่วยงานของสำนักงานเขต (ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายโยธา และฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ) จำนวน 3 จุด คือ 3.1 ชื่อจุดเสี่ยงแยกถนนเชื่อมต่อพัฒนาการตัดถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (จุดที่ 21) 3.2 ชื่อจุดเสี่ยงถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (หน้าสวนหลวง ร.9) (จุดที่ 51) 3.3 ชื่อจุดเสี่ยงแยกศรีอุดม (ถนนศรีนครินทร์-ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) (จุดที่ 87) ขั้นตอนที่ 4 รายงานผลความคืบหน้า (ตามที่สำนักการจราจรและขนส่งประสาน) ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลการดำเนินการ ภารกิจของสำนักงานเขตจะต้องดำเนินการตามตัวชี้วัด -สำนักงานเขตประเวศ โดยฝ่ายเทศกิจ ได้จัดประชุมศูนย์ปฎิบัติการความปลอดภัยทางถนนเขตประเวศ (ศปถ.เขตประเวศ) ครั้งที่ 1 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม 2565 ครั้งที่ 2 เมื่อวันอังคารที่ 11 เมษายน 2566 -จัดส่งรายงานการประชุม ศปถ.เขต ให้ สจส. -จัดทำแผนปฎิบัติการ Action Plan และโครงการบูรณาการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่เขตประเวศ ประมาณเดือนมีนาคม 2566 การจัดส่งรายงานผลการดำเนินงาน -สำนักงานเขตประเวศ โดยฝ่ายเทศกิจ ได้ดำเนินการจัดส่งรายงานผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด “ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ” และจัดส่งให้สำนักการจราจรและขนส่ง 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ส่งรายงานผลการดำเนินงานไปแล้ว ตามหนังสือสำนักงานเขตประเวศ ที่ กท 7309/3959 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 (รายงาน สจส. ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566) ครั้งที่ 2 ส่งรายงานผลการดำเนินงานไปแล้ว ตามหนังสือสำนักงานเขตประเวศ ที่ กท 7309/5235 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 (รายงาน สจส. ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2566) ดำเนินการตามแผนฯ พร้อมหลักฐานภาพถ่ายก่อน-หลัง ตามแบบฟอร์มที่ สจส.กำหนด -ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดจากสำนักการจราจรและขนส่ง ในพื้นที่เขตประเวศได้รับการแก้ไขปรับปรุงครบตามจำนวน (ข้อมูลจากสำนักการจราจรและขนส่ง ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2566) จุดที่ 29 : แยกถนนเชื่อมต่อพัฒนาการ ตัดถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 สน .อุดมสุข สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ 1) มีรถออกมาจากซอยบริเวณทางโค้งที่ตัดกระแสจราจร 2) มีการขับรถซ้อน Lane จราจรฃ 3) หมุดสะท้อนแสงเสื่อมสภาพ/ชำรุด แนวทางการแก้ไข 1) ติดตั้งป้ายระวังรถทางขวา-ซ้าย เนื่องจากมีรถออกมาจากซอยบริเวณทางโค้ง 2) ติดตั้งหลักล้มลุกเพื่อป้องกันการขับรถข้าม Lane จราจร 3) ติดตั้งหมุดสะท้อนแสงหรือเทปสะท้อนแสง (Reflective sheeting) และปรับเปลี่ยนในจุดที่เกิดความเสียหาย จุดที่ 70 : ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (หน้าสวนหลวง ร.9) สน.ประเวศ สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ 1) ป้ายจราจรยังมีความชัดเจนไม่เพียงพอ 2) สีบริเวณไหล่ทางเดินเท้า เสื่อมสภาพ/ชำรุด 3) ไม่มเส้นจราจรบอกทิศทางรถที่ชัดเจน 4) รั้วเหล็กมองเห็นไม่ชัดเจนในช่วงเวลากลางคืน 5) หมุดสะท้อนแสง เสื่อมสภาพ/ชำรุด แนวทางการแก้ไข 1)แก้ไขและปรับปรุงป้ายจราจรให้เกิดความชัดเจน 2)ปรับปรุงสีบริเวณไหล่ทางเดินเท้า 3)ทำเส้นบอกทิศทาง และเส้นแบ่งช่องจราจร 4)ปรับเปลี่ยนรั้วเหล็กให้มองเห็นชัดเจนขึ้นในช่วงเวลากลางคืนหรือเปลี่ยนไปเป็นการติดตั้ง Guard rail 5)ติดตั้งและปรับเปลี่ยนหมุดสะท้อนแสงหรือเทปสะท้อนแสงที่มีความเสียหาย จุดที่ 113 : แยกศรีอุดม (ถนนศรีนครินทร์ - ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) สน.พระโขนง สน.บางนา และสน.ประเวศ สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ 1) ป้ายจราจรมีความไม่ชัดเจนมองเห็นได้ยาก 2) จุดกลับรถไม่ชัดเจน มองเห็นได้ยาก 3) อุปกรณ์แบ่ง Lane จราจร เสื่อมสภาพ/ชำรุด 4) เส้นจราจรเสื่อมสภาพ/ชำรุด แนวทางการแก้ไข 1) แก้ไขและปรับปรุงป้ายจราจรให้เกิดความชัดเจนมองเห็น ได้ง่าย 2) ติดตั้งป้ายแจ้งเตือนในตำแหน่งหรือจุดกลับรถ 3) ติดตั้งลูกแก้วสะท้อนแสง หรือ Road Stud หรือ เทปสะท้อนแสง และปรับเปลี่ยนให้จุดที่เกิดการชำรุด 4) ปรับปรุง/ฟื้นฟู เส้นจราจรให้ชัดเจน สำนักงานเขตประเวศ โดยฝ่ายเทศกิจดำเนินงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ช่วยสนับสนุนในการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ตามที่ สจส.กำหนดให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีหน่วยงานของสำนักงานเขตดำเนินการ ดังนี้ 1.ฝ่ายเทศกิจ 1.1 นำข้อมูลจุดเสี่ยงอุบัติเหตุจาก สจส.ประชุมหารือร่วมกันเพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุในพื้นที่ทั้งกายภาพและพฤติกรรมในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่ 1.2 จัดกิจกรรมการกวดขันวินัยจราจรและ/หรือ อำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจร ในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่ รวบรวมและรายงานผลให้สำนักเทศกิจตามแบบที่กำหนดหรือตามที่ได้รับการประสาน 1.3 รายงานผลการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุของสำนักงานเขตประเวศ ให้ สจส.ตามแบบที่กำหนดหรือตามที่ได้รับการประสาน 2.ฝ่ายโยธา 2.1 บูรณะ ปรับปรุง ซ่อมแซม และบำรุงรักษาทาง ฝาท่อระบายน้ำ ตะแกรงดักขยะบนพื้นผิวจราจรและรางระบายน้ำ 2.2 ติดตั้ง รื้อย้าย ถอดถอน บำรุงรักษาเครื่องหมายจราจรและอุปกรณ์วิศวกรรมจราจร การติดตั้งกระจกโค้ง ไฟฟ้าส่องสว่าง การควบคุมการติดตั้งป้ายต่าง ๆ 2.3 รายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุตามแบบ 1 พร้อมแนบภาพถ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่งให้ฝ่ายเทศกิจภายในวันที่ 1 ของเดือน 3. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ 3.1 การตัดแต่งต้นไม่ไม่ให้บดบังทัศนวิสัยการมองเห็นป้ายต่าง ๆ และสัญลักษณ์จราจรในพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ 3.2 ดูแลรักษาและทำความสะอาดในบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุและบริเวณใกล้เคียง 3.3 รายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุแบบ 2 พร้อมแนบภาพถ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่งให้ฝ่ายเทศกิจภายในวันที่ 1 ของเดือน เอกสารประกอบหลักฐาน 1. สำเนาโครงการบูรณาการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่เขตประเวศ 2. สำเนาแผนปฎิบัติการฯ 3. เอกสารการรายงานผลการดำเนินการ ส่ง สจส. จำนวน 2 ครั้ง 3.1 หนังสือสำนักงานเขตประเวศ ที่ กท 7309/3959 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 3.2 หนังสือสำนักงานเขตประเวศ ที่ กท 7309/5235 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2566 4. เอกสารการรายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุตามแบบ 1 พร้อมภาพถ่าย ของฝ่ายโยธา 5. เอกสารการรายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุตามแบบ 2 พร้อมภาพถ่าย ของฝ่ายรักษาความสะอาดฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ความสำเร็จของการจัดเก็บรายได้
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 35
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **