ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย : 50420000-3787

สำนักงานเขตสายไหม : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม และการขยายตัวของเขตเมือง ส่งผลอัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจด้านอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และรูปแบบการประกอบธุรกิจอาหารมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบและต้องการบริการที่มีความสะดวกสบาย เช่น การจำหน่ายอาหารแบบออนไลน์และบริการส่งถึงที่ (Ready-to-Eat Food Delivery) การจำหน่ายในลักษณะของ Food Truck รถเร่ขายแบบให้บริการเข้าถึงชุมชน จากสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยและอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและโรคอาหารเป็นพิษต่อแสนประชากร ใน 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561 – 2565) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) อย่างไรก็ตาม หากมีการรายงานจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษหรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถบ่งชี้ได้ว่ากรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยได้ถูกกำหนดไว้ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566 – 2570) มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สำนักงานเขตสายไหม จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน อันจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร และคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครในวงกว้างต่อไป

50420400/50420400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการ ได้แก่ ตลาด มินิมาร์ท/ของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และสถานศึกษาในพื้นที่ 2.2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.3 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึก รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนด้านการจัดการอาหารปลอดภัย 2.4 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

เป้าหมายของโครงการ

3.1 ร้อยละ 30 ของความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร มีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service) 3.2 ร้อยละ 96 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค 3.3 ร้อยละ 98 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน%
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-25)

100.00

25/09/2566 : 1. ดำเนินการตรวจประเมินด้านสุขลักษณะด้านกายภาพและคุณภาพอาหาร (ด้านเคมีและด้านจุลชีววิทยา) ในสถานประกอบการอาหารกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต 2. จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร ตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ประเภท 1 และ 2 สถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร 3. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี มีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service) จำนวน 10 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-24)

95.00

24/08/2566 : 1. ดำเนินการตรวจประเมินด้านสุขลักษณะด้านกายภาพและคุณภาพอาหาร (ด้านเคมีและด้านจุลชีววิทยา) ในสถานประกอบการอาหารกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต 2. จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร ตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ประเภท 1 และ 2 สถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-24)

80.00

24/07/2566 : 1. ดำเนินการตรวจประเมินด้านสุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และสถานศึกษา 2. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารด้านเคมีและจุลชีววิทยา ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) 3. จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้สัมผัสอาหาร ตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) 4. จัดกิจกรรมพัฒนางานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน 5. จัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-23)

70.00

23/06/2566 : 1. ดำเนินการตรวจประเมินด้านสุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และสถานศึกษา 2. ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารด้านเคมีและจุลชีววิทยา ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) 3. จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้สัมผัสอาหาร ตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) และอบรมแบบออนไลน์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-05-25)

65.00

25/05/2566 : 1. ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารตามสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท/ของชำ และร้านจำหน่ายอาหารบริเวณโดยรอบสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารเข้ารับการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารผ่านการอบรมตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) และการอบรมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล (Online)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-25)

60.00

25/04/2566 : 1. ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารตามสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท/ของชำ 2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารเข้ารับการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารผ่านการอบรมตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) และการอบรมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล (Online)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-03-27)

55.00

27/03/2566 : 1. ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารตามสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท/ของชำ 2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารเข้ารับการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารผ่านการอบรมตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) และการอบรมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล (Online)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-02-24)

50.00

24/02/2566 : 1. ดำเนินการตรวจความสะอาดของสถานที่และตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) ในสถานประกอบการอาหารกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร มินิมาร์ท และของชำในพื้นที่ 2. ดำเนินการส่งเสริมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) และการอบรมผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Online) 3. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี มีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-01-25)

40.00

25/01/2566 : 1. ดำเนินการตรวจความสะอาดของสถานที่และตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) ในสถานประกอบการอาหารกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร มินิมาร์ท/ของชำ และสถานศึกษาในพื้นที่ 2. ดำเนินการส่งเสริมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) 3. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี มีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service) จำนวน 33 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2022-12-31)

30.00

31/12/2565 : 1. จัดทำแผนการตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารกลุ่มเป้าหมายและสถานศึกษาในพื้นที่ 2. ดำเนินการตรวจความสะอาดของสถานที่และตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) ในสถานประกอบการอาหารกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร มินิมาร์ท/ของชำ และสถานศึกษาในพื้นที่ 3. ดำเนินการส่งเสริมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ขออนุมัติโครงการ
:5.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำแผนปฏิบัติงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ดำเนินการตรวจความสะอาดของสถานที่และตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหารเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท/ของชำ และสถานศึกษาในพื้นที่
:65.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:จัดกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
:75.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:จัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย
:85.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:จัดทดสอบเพื่อประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
:95.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อนำเรียนผู้บริหารทราบ
:100.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50420000-3787

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50420000-3787

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5042-6506

ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 70

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
5.00

100 / 0
2
10.00

100 / 50
3
70.00

100 / 100
4
100.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **