ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ปรับปรุงภูมิทัศน์คลองลาดพร้าว (คลองสอง) : 50420000-3844

สำนักงานเขตสายไหม : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ฝ่ายโยธา

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

“คลองสอง” เป็นคลองขุดในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มต้นจากคลองระพีพัฒน์ จังหวัดปทุมธานี ไหลลงมาทางทิศใต้ตัดผ่านคลองรังสิตประยูรศักดิ์ เชื่อมต่อกับคลองหกวาสายล่างและคลองถนนบริเวณรอยต่อพื้นที่เขตสายไหม ซึ่งปัจจุบันเรียกชื่อเป็นคลองลาดพร้าวโดยไหลผ่านเขตต่อเนื่องได้แก่ สายไหม ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน จตุจักร ลาดพร้าว ห้วยขวาง และเชื่อมต่อคลองแสนแสบในพื้นที่เขตวังทองหลาง มีบทบาทเป็นทางระบายน้ำหลักของกรุงเทพมหานครด้านทิศเหนือแต่เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 รัฐบาลจึงมีนโยบายรื้อย้ายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลแล้วก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตตลอดแนวคลองทั้งสองฝั่ง โดยพื้นที่เขตสายไหมเริ่มจากประตูระบายน้ำคลองสองสายใต้ถึงสะพานสุกรนาคเสนีย์ (สะพานใหม่) ความยาวประมาณ 3,500เมตรปัจจุบันยังคงมีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำคลองที่อยู่ระหว่างดำเนินคดีทางปกครองระยะทางประมาณ 40 เมตร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานเขตสายไหมได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองลาดพร้าว (คลองสอง) ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนั้น เพื่อให้คลองลาดพร้าว (คลองสอง) คงรักษาสภาพโดยไม่มีการก่อสร้างต่อเติมที่รุกล้ำทางเดินสันเขื่อนและรุกล้ำในคลองและมีการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงามและฟื้นฟูตลอดจนพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองเพื่อให้คลองและพื้นที่ริมคลองมีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ และสร้างความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติหรือสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้นรวมถึงการบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่รวมไปถึงประชาชนสามารถสัญจรสะพานข้ามคลองและใช้ทางเดินสันเขื่อนเลียบแนวคลองได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ชุมชนริมคลองมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อมในการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบและน้ำเสียของชุมชนรวมทั้งมีพื้นที่ริมคลองที่เปิดให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อเป็นจุดพักผ่อนและสันทนาการ และสามารถส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลองสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองลาดพร้าว (คลองสอง) ให้มีความต่อเนื่องและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

50420300/50420300

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อแก้ไขปัญหาภูมิทัศน์ริมคลองลาดพร้าว (คลองสอง) ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดและสวยงาม 2.2 เพื่อเพิ่มความสะดวกปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้สะพานข้ามคลองและทางเดินริมคลองลาดพร้าว (คลองสอง) 2.3 เพื่อบูรณะฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างสาธารณูปการต่างๆบริเวณริมคลองลาดพร้าว(คลองสอง) ให้มั่นคงปลอดภัยและสะอาดเรียบร้อยสวยงาม 2.4 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนริมคลองลาดพร้าว (คลองสอง) ในการปรับปรุงภูมิทัศน์และรักษาสภาพแวดล้อม

เป้าหมายของโครงการ

3.1 มีการบำรุงรักษาบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดเช็คอิน (Check in) ป้ายอำนวยความสะดวก ป้ายประดับ ต่าง ๆ สะพานข้ามคลอง ไฟฟ้าส่องสว่างและราวกันตกริมคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 3.2 มีการบริหารจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่โดยการกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดวันทิ้ง-นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะและการตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ” 3.3 มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” การนำเศษขยะอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) การจัดน้ำเสียชุมชน การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย 3.4 ส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-10-05)

100.00

05/10/2566 : รายงานผลดำเนินการส่งสำนักการระบายน้ำ วันที่14 กันยายน 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-29)

90.00

29/08/2566 : รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง การตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ”

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-07-25)

10.00

25/07/2566 : ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณคลองสอง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-06-27)

10.00

27/06/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-05-31)

10.00

31/05/2566 : กำลังดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักระบายน้ำกำหนด
:10.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขต ส่งสำนักการระบายน้ำ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบ บริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ป้ายอำนวยความสะดวก (ชื่อแหล่งน้ำ, ประวัติศาสตร์พื้นที่ ฯลฯ) ป้ายประดับต่าง ๆ ไม้ดอกไม
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:คัดเลือกอย่างน้อย 1 พื้นที่ บริเวณคลองสายหลักหรือคลองสาขา โดยเป็นพื้นที่ริมคลอง สะพานข้ามคลอง หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม ซึ่งเป็นพื้นที่เดิม (คลองเป้าหมายที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา) หรือพื้นที่ใหม่ เพื่อดำเนินการพัฒนาให้เกิดความเป็นอัตลักษณ์ที่โ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง เช่น การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง - นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะ และการตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ” เป็นต้น
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)
:20.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:จัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงานพร้อมเสนอโครงการ/กิจกรรมเพื่อการพัฒนาในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำ
:20.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50420000-3844

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50420000-3844

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5042-6550

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้รับการปรับภูมิทัศน์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00

0 / 0
2
50.00

100 / 0
3
75.00

100 / 100
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **