ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายโยธา
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
เขตคลองสามวา แบ่งการปกครองเป็น 5 แขวง ประกอบด้วย แขวงสามวาตะวันตก แขวงสามวาตะวันออก แขวงบางชัน แขวงทรายกองดิน และแขวงทรายกองดินใต้ เนื้อที่รวม 110.686 ตารางกิโลเมตร ลำรางทั้งหมด 44 คลอง รวมความยาว 67,850 เมตร โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขตคลองสามวา 28 คลอง ความยาว 90,300 เมตร อยู่ในความดูแลของสำนักการระบายน้ำ จำนวน 5 คลอง ความยาว 27,650 เมตร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของเขตคลองสามวาเป็นพื้นที่รับน้ำของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกช่วงฤดูฝนทำให้ประสบกับสภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ จากการสำรวจพื้นที่ ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพการระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งบางจุดมีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล สำนักงานเขตคลองสามวาจึงได้น้อม นำศาสตร์พระราชามาเป็นตัวอย่างในการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อมผนวกกับการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน คลองสามวา เป็น 1 ในคลองที่มีความสำคัญ เนื่องจากมีความยาวตั้งแต่เขตมีนบุรี เขตคลองสามวา ถึงอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี รวม 11,800 เมตร มีความยาวคลองที่อยู่ในพื้นที่เขตคลองสามวา รวม 11,800 เมตร มีบ้านเรือนและอาคารโดยรอบเป็นจำนวนมาก ปัญหาหนึ่งที่ถูกร้องเรียนจากประชาชนและจากสื่อมวลชนอยู่เนืองๆ คือปัญหาการระบายน้ำไหลไม่สะดวก ภูมิทัศน์ไม่สวยงาม ประชาชนมีการรุกล้ำพื้นที่ริมคลอง ทำให้น้ำคูคลองในพื้นที่เกิดการเน่าเสีย ซึ่งสาเหตุเกิดจากประชาชนทิ้งขยะ และของเสียลงสู่คู คลอง สำนักงานเขตคลองสามวา ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างดี และได้พิจารณาแล้วว่าการที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ผลนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายตั้งแต่ฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักการระบายน้ำ และประชาชนในพื้นที่ที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันปรับปรุงแก้ไขป้องกันและอนุรักษ์แม่น้ำ คูคลองอย่างครบวงจร กล่าวคือ นอกจากการแก้ไขสภาพน้ำเน่าเสียแล้ว ยังจะเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนและการระบายน้ำ ตลอดจนต้องปรับปรุงภูมิทัศน์สองฝั่งคลองให้มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงามน่ามอง ตามนโยบาย “หันหน้าเข้าคลอง” เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดเจรจาตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปี 2566 สำนักงานเขตคลองสามวาจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายหลักในพื้นที่เขตคลองสามวา โดยการนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ในการปรับปรุงสภาพริมคลอง สามารถระบายน้ำได้ดี ภูมิทัศน์ริมคลองร่มรื่น สวยงาม สะอาด ชุมชนที่อยู่อาศัยริมคลองเกิดความตระหนักในการรักษาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะและเป็นการเฝ้าระวังปัญหามลภาวะทางน้ำในพื้นที่เขตคลองสามวาอีกทางหนึ่ง และเพื่อส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติให้มี รวมทั้งสนองนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และรัฐบาล
50460300/50460300
2.1 เพื่อปรับปรุงสภาพพื้นที่ ทางเดินริมคลอง ให้มีความระเบียบเรียบร้อย สวยงาม ตามความเหมาะสมของพื้นที่ 2.2 เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูคลองปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่โดยการดูแลสภาพคู คลองให้สะอาด ไม่มี และตัดแต่งต้นไม้ 2.3 เพื่อเพิ่ม... 2.3 เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในพื้นที่เขตคลองสามวา 2.4 เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้โดดเด่น เหมาะสมกับพื้นที่บริเวณที่สาธารณะริมคลอง 2.5 รักษาสภาพและบำรุงรักษาอุปกรณ์ในความรับผิดชอบบริเวณเป็นสถานที่พักผ่อน ริมคลองจุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) ป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับต่าง ๆ สะพานข้ามคลอง ไฟฟ้าส่องสว่างและราวกันตกริมคลอง ให้มีความสวยงามและให้พร้อมใช้งาน 2.6 เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชนและชุมชนที่อาศัยบริเวณคลอง 2.7 เพื่อลดปริมาณขยะในคลอง
ปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสามวา ในพื้นที่เขตคลองสามวา จำนวน 1 คลอง
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-27)
27/09/2566 : 1. เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง สำนักงานเขตคลองสามวา มีนายธนัฐจ์กร ภิรัฐพงศ์ธนากร เข้าร่วมประชุมดังกล่าว 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขต ส่งสำนักการระบายน้ำ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 3. มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ฝ่ายโยธา และฝ่ายเทศกิจ 4. สำนักงานเขตคลองสามวาได้มีการคัดเลือกพื้นที่เดิมของปีที่ผ่านมา คือบริเวณพื้นที่บริเวณสุเหร่าสามวาได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่อัตลักษณ์ที่โดดเด่น และพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์ จุดเช็คอิน (Check in) 5. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะพร้อมกับฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการชุมชนบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง - นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะ และการตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ” ของฝ่ายเทศกิจด้วย 6. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง อย่างน้อยครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 1) การคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” 2) การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 3) การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) 4) การจัดการน้ำเสียชุมชน 5) การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ 6) การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย ประกอบด้วย จำนวน 7 ชุมชน ได้แก่ 1) ชุมชนมีนทองพัฒนา 2) ชุมชนพร้อมใจพัฒนา 3) ชุนชนหมู่ 3 สามวาตะวันออก 4) ชุมชนวัดบัวแก้ว 5) ชุมชนบึงไผ่ 6) มัสยิดดารุ้สอีบาดะห์ (คลองสามวา) 7) ชุมชนมัสยิดฮีดาย่าตุ้ลอิสลามิยะห์ (สามวา) 7. สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลองผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จำนวน 1 เครือข่าย ได้แก่ รักคลองสามวา กลุ่มไลน์ (Line Group) มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 156 ราย 8. สำนักงานเขตคลองสามวาได้จัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงานพร้อมเสนอโครงการ/กิจกรรม ปี 2567 เพื่อการพัฒนาในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 พร้อมโครงการแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปีงปบระมาณ พ.ศ. 2567 9. สำนักงานเขตคลองสามวา โดยฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะได้ประสานหารือฝ่ายโยธาและประชาชนบริเวณวัดบัวแก้วได้ข้อสรุปในการตกลงพัฒนาจุดเช็คอินเพิ่มเติม ณ สะพานวัดบัวแก้ว
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-08-31)
31/08/2566 : ดำเนินการตามแผน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับการปรับภูมิทัศน์ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **