ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
จากสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษในกรุงเทพมหานคร จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ในรอบ 5 ปีล่าสุด (ปี พ.ศ. 2558 – 2562) พบว่าอัตราการป่วยต่อแสนประชากร เท่ากับ 68.2, 87.8, 91.1, 100.6, และ 91.20 ตามลำดับ ซึ่งบ่งชี้ว่ากรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร สถานประกอบการอาหารที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น รูปแบบการประกอบธุรกิจ ด้านอาหาร มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตคนเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบต้องการบริการที่มีความสะดวกสบาย เช่น การเพิ่มจำนวนของธุรกิจจำหน่ายอาหารแบบออนไลน์และบริการส่งถึงที่ (Ready-to-Eat Food Delivery) การจำหน่ายอาหารในลักษณะของ Food Truck รถเร่ขายอาหารแบบให้บริการเข้าถึงชุมชน ประกอบการเคลื่อนย้ายและเพิ่มจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ขาดความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการอาหาร สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขลักษณะและความปลอดภัยของอาหาร และจากการ เจริญเติบโตของธุรกิจอาหารที่มีเป็นจำนวนมากนั้น อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่โดยปกติสุขของประชาชนได้ เช่น เหตุรำคาญจากการประกอบกิจการอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น ควัน เสียง ความร้อน น้ำเสีย ประกอบกับปัจจุบันเกินสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ สถานประกอบการอาหารต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ประกาศ ข้อบังคับ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด เพื่อให้การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยมีความยั่งยืน และป้องกันควบคุม โรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเขตบางบอนจึงได้จัดทำ โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย เพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข อันเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครฯ
50500400/50500400
ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของ กรุงเทพมหานคร และมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
ร้อยละของสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เท่ากับหรือมากกว่า ร้อยละ 30
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-28)
28/08/2566 : ได้ดำเนินการตรวจสอบด้านสุขลักษณะและสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มเป้าหมาย สรุปผลได้ดังนี้ 1. ร้านอาหาร จำนวน 15 แห่ง 2. มินิมาร์ท จำนวน 16 แห่ง 3. ห้างสรรพสินค้า จำนวน 2 แห่ง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยาจำนวน 373 ตัวอย่าง - จุลชีววิทยา จำนวน 332 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค จำนวน 3 ตัวอย่าง - อ.11 จำนวน 36 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค จำนวน 2 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านเคมีจำนวน 186 ตัวอย่าง แยกประเภท ดังนี้ - บอแรกซ์ 51 ตัวอย่าง - ฟอร์มาลิน 21 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 1 ตัวอย่าง - สารฟอกขาว 5 ตัวอย่าง - สารกันรา 15 ตัวอย่าง - ยาฆ่าแมลง 87 ตัวอย่าง - สารโพลาร์ 5 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 1 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-27)
27/07/2566 : ได้ดำเนินการตรวจสอบด้านสุขลักษณะและสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มเป้าหมาย สรุปผลได้ดังนี้ 1. ร้านอาหาร จำนวน 15 แห่ง 2. มินิมาร์ท จำนวน 15 แห่ง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยาจำนวน 523 ตัวอย่าง - จุลชีววิทยา จำนวน 493 ตัวอย่าง - อ.11 จำนวน 30 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค จำนวน 2 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านเคมีจำนวน 272 ตัวอย่าง ด้านเคมี 272 ตัวอย่าง แยกประเภท ดังนี้ - บอแรกซ์ 86 ตัวอย่าง - ฟอร์มาลิน 32 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 1 ตัวอย่าง - สารฟอกขาว 19 ตัวอย่าง - สารกันรา 10 ตัวอย่าง - ยาฆ่าแมลง 102 ตัวอย่าง - สีสังเคราะห์ 6 ตัวอย่าง - กรดแร่อิสระ 11 ตัวอย่าง - สารโพลาร์ 6 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 1 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-06-27)
ได้ดำเนินการตรวจสอบด้านสุขลักษณะและสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มเป้าหมาย สรุปผลได้ดังนี้ 1. สถานศึกษา จำนวน 4 แห่ง 2. ร้านอาหาร จำนวน 13 แห่ง 3. มินิมาร์ท จำนวน 15 แห่ง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยาจำนวน 505 ตัวอย่าง - จุลชีววิทยา จำนวน 458 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 9 ตัวอย่าง - อ.11 จำนวน 39 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 2 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านเคมี 257 ตัวอย่าง แยกประเภท ดังนี้ - บอแรกซ์ 41 ตัวอย่าง - ฟอร์มาลิน 21 ตัวอย่าง - สารฟอกขาว 12 ตัวอย่าง - สารกันรา 11 ตัวอย่าง - ยาฆ่าแมลง 75 ตัวอย่าง - กรดแร่อิสระ 5 ตัวอย่าง - สารโพลาร์ 2 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : ได้ดำเนินการตรวจสอบด้านสุขลักษณะและสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มเป้าหมาย สรุปผลได้ดังนี้ 1. สถานศึกษาจำนวน 16 แห่ง 2. มินิมาร์ท จำนวน 15 แห่ง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยาจำนวน 382 ตัวอย่าง - จุลชีววิทยา จำนวน 334 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค จำนวน 18 ตัวอย่าง - อ.11 จำนวน 48 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในน้ำ จำนวน 9 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านเคมี ด้านเคมี 154 ตัวอย่าง แยกประเภท ดังนี้ - บอแรกซ์ 83 ตัวอย่าง - ฟอร์มาลิน 9 ตัวอย่าง - สารฟอกขาว 6 ตัวอย่าง - สารกันรา 7 ตัวอย่าง - ยาฆ่าแมลง 49 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-04-27)
27/04/2566 : ได้ดำเนินการตรวจสอบด้านสุขลักษณะและสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มเป้าหมาย สรุปผลได้ดังนี้ 1. ร้านอาหาร จำนวน 31 แห่ง 2. มินิมาร์ท จำนวน 32 แห่ง 3. ห้างสรรพสินค้า จำนวน 1 แห่ง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยาจำนวน 794 ตัวอย่าง - จุลชีววิทยา จำนวน 732 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 39 ตัวอย่าง - อ.11 จำนวน 62 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 16 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านเคมีจำนวน 330 ตัวอย่าง ด้านเคมี 257 ตัวอย่าง แยกประเภท ดังนี้ - บอแรกซ์ 50 ตัวอย่าง - ฟอร์มาลิน 50 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 1 ตัวอย่าง - สารฟอกขาว 21 ตัวอย่าง - สารกันรา 27 ตัวอย่าง - ยาฆ่าแมลง 159 ตัวอย่าง - กรดแร่อิสระ 6 ตัวอย่าง - สารโพลาร์ 17 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 1 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : ได้ดำเนินการตรวจติดตามประเมินผล รายละเอียดดังนี้ 1. ร้านอาหารจำนวน 15 แห่ง 2. มินิมาร์ทจำนวน 14 แห่ง 3. ตลาดจำนวน 1 แห่ง จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 578 ตัวอย่าง ด้านจุลชีววิทยา 321 ตัวอย่าง Si-2 294 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 18 ตัวอย่าง อ.11 27 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 6 ตัวอย่าง ด้านเคมี 257 ตัวอย่าง แยกประเภท ดังนี้ - บอแรกซ์ 42 ตัวอย่าง - ฟอร์มาลิน 32 ตัวอย่าง - สารฟอกขาว 21 ตัวอย่าง - สารกันรา 24 ตัวอย่าง - ยาฆ่าแมลง 108 ตัวอย่าง - สีสังเคราะห์ 5 ตัวอย่าง - กรดแร่อิสระ 12 ตัวอย่าง - สารโพลาร์ 13 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 4 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : ได้ดำเนินการตรวจสอบด้านสุขลักษณะและสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มเป้าหมาย สรุปผลได้ดังนี้ 1. ร้านอาหาร จำนวน 16 แห่ง 2. มินิมาร์ท จำนวน 16 แห่ง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยาจำนวน 453 ตัวอย่าง - จุลชีววิทยา จำนวน 407 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน 11 ตัวอย่าง - อ.11 จำนวน 30 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน 15 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค จำนวน 26 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านเคมีจำนวน 94 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนด้านเคมี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 (covid 19)ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **