๗.๔ - การคลังและงบประมาณ ๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ | |
หน่วยนับ :ร้อยละ เป้าหมาย :100.00 ผลงาน :76.17 |
ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานเขตพระนครได้รับงบประมาณ (หลังปรับโอน ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2563) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 126,392,040 บาท ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ 13,048,289.81 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.32
ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานเขตพระนครได้รับงบประมาณ (หลังปรับโอน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 128,365,151.00 บาท ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ 36,541,036.81 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.47
ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานเขตพระนครได้รับงบประมาณ (หลังปรับโอน ณ นที่ 30 มิถุนายน 2564) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 125,845,960.00 บาท ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 5 หมวด เป็นเงิน 58,914,450.19 บาท คิดเป็นร้อยละ 46.81
ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานเขตพระนครได้รับงบประมาณรายจ่าย จำนวน 5 หมวด (ยกเว้นหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว) เป็นเงิน 124,903,691 บาท เบิกจ่าย ณ วันที่ 10 กันยายน 2564 เป็นเงิน 95,136,211.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 76.17
๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์ | |
หน่วยนับ :ร้อยละ เป้าหมาย :100.00 ผลงาน :100.00 |
ส่งเอกสาร (คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน แผนพัฒนาฐานข้อมูล บัญชีรายการข้อมูล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้อง และการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่ จำนวน 1 เรื่อง) การดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 ดำเนินการตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เรียบร้อยแล้ว
จัดทำคำอธิบายข้อมูล (metadata) และพจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) ส่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลตามระยะเวลาที่กำหนด
นำเข้าข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทั้งข้อมูลที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และข้อมูลใหม่ (ข้อมูลผู้ป่วยติดเตียง) และอยู่ระหว่างดำเนินการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และเตรียมส่งหลักฐานการดำเนินการให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมิน
ขั้นตอนที่ 1 1. แต่งตั้งคณะทำงานกำกับติดตามข้อมูลระดับหน่วยงาน และจัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูล 2. จัดทำบัญชีรายการข้อมูลของหน่วยงาน (data catalog) และกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลของหน่วยงาน 3. พัฒนาฐานข้อมูลใหม่หรือปรับปรุงฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น จำนวน 1 เรื่อง มาพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน ขั้นตอนที่ 2 1. จัดทำพจนานุกรมข้อมูลของหน่วยงาน (data dictionary) 2. จัดทำคำอธิบายข้อมูลของหน่วยงาน (metadata) ขั้นตอนที่ 3 ปรับปรุงข้อมูลให้มีคุณภาพและเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ดังนี้ 1. รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยสำนักงานเขตดำเนินการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ของเขตในระบบการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 5.2 และระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร (District Catalog) 2. พัฒนาฐานข้อมูลใหม่หรือปรับปรุงฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมและจะต้องนำเข้าข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2564 ขั้นตอนที่ 4 การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์และสามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรม ขั้นตอนที่ 5 การให้บริการหรือเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานครและ/หรือหน่วยงานภายนอกด้วยระบบออนไลน์ และ/หรือมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ