ผลการปฏิบัติราชการประจำปี : ของหน่วยงาน : 23000000

Home Home SED

มิติที่ 5 ด้านการพัฒนาองค์กร

(1) 5.1 ความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม
[มิติที่ 5 : ]

๗.๔ - การคลังและงบประมาณ ๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ
5.1 ความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม

หน่วยนับ :ร้อยละ

เป้าหมาย :100.00

ผลงาน :66.28

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
6.93

100 / 100
2
23.34

0 / 0
3
43.93

0 / 0
4
66.28

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

การเบิกจ่ายภาพรวม ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2563 งบประมาณหลังปรับโอน 1,318,815,610 บาท เบิกจ่ายแล้ว 91,445,155.93 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.93

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 (ตุลาคม 2563 - มีนาคม 2564) การเบิกจ่ายภาพรวม ณ วันที่ 15 มีนาคม 2564 งบประมาณหลังปรับโอน 1,318,884,260 บาท เบิกจ่ายแล้ว 307,856,736.32 บาท คิดเป็นร้อยละ 23.34

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ผลการดำเนินการไตรมาสที่ 3 (ตุลาคม 2563 - มิถุนายน 2564) การเบิกจ่ายภาพรวม ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2564 งบประมาณหลังปรับโอน 1,318,684,260 บาท เบิกจ่ายแล้ว 579,305,819.99 บาท คิดเป็นร้อยละ 43.93 โดยการเบิกจ่าย 5 หมวดรายจ่าย ประกอบด้วยหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่น คิดเป็นร้อยละ 39.54 การเบิกจ่ายงบกลางที่ได้รับจัดสรร คิดเป็นร้อยละ 81.92 รวมการเบิกจ่าย 5 หมวดรายจ่าย และงบกลางที่ได้รับจัดสรร คิดเป็นร้อยละ 41.41

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

การเบิกจ่ายภาพรวม ณ วันที่ 15 กันยายน 2564 งบประมาณหลังปรับโอน 1,315,422,598 บาท เบิกจ่ายแล้ว 871,871,366.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 66.28 โดยการเบิกจ่าย 5 หมวดรายจ่าย ประกอบด้วยหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่น คิดเป็นร้อยละ 63.82 การเบิกจ่ายงบกลางที่ได้รับจัดสรร คิดเป็นร้อย 62.16 รวมการเบิกจ่าย 5 หมวดรายจ่าย และงบกลางที่ได้รับจัดสรร คิดเป็นร้อยละ 63.72

** สรุปผลการดำเนินงาน **

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

(2) 5.2 ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ
[มิติที่ 5 : ]

๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์
5.2 ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ

หน่วยนับ :ร้อยละ

เป้าหมาย :100.00

ผลงาน :100.00


ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00

100 / 100
2
25.00

0 / 0
3
80.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

แบ่งเป็น ๒ ส่วน (ร้อยละ ๑๐๐) ส่วนที่ ๑ รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ส่วนที่ ๒ พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม 2563 – ธันวาคม 2563) 1. ศึกษาข้อมูลการดำเนินการ 2. ได้รักษาสถานะภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยดูแลรักษาฐานข้อมูลให้สามารถใช้งานได้ 3. พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือ การให้บริการ โดยดำเนินการเตรียมการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 (ตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564) 1. ศึกษาข้อมูลการดำเนินการ 2. ได้รักษาสถานะภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยดูแลรักษาฐานข้อมูลให้สามารถใช้งานได้ 3. พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือ การให้บริการ โดยดำเนินการเตรียมการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4. จัดทำพจนานุกรมข้อมูลและคำอธิบายข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 (เม.ย - มิ.ย. 2564) ๑. ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลที่ดำเนินการในปี ๒๕๖๓ อย่างต่อเนื่อง ๒. อยู่ระหว่างดำเนินการตามแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ ๕.๒ ขั้นตอนที่ ๔ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยจัดทำระบบสารสนเทศสำหรับฐานข้อมูลดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ดำเนินการครบถ้วนตามขั้นตอนที่กำหนด ดังนี้ - ขั้นตอนที่ 1 1.1 แต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงาน ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รายละเอียดตามคำสั่งสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ที่ 370/2563 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2563 1.2 จัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน ดังนี้ 1) จัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (ดำเนินการเดือนพฤศจิกายน 2563) 2) แต่งตั้งคณะทำงาน (ดำเนินการเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2563) 3) จัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) (ดำเนินการเดือนธันวาคม 2563) 4) พัฒนาฐานข้อมูลใหม่หรือปรับปรุงฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น จำนวน 1 เรื่อง (ดำเนินการเดือนธันวาคม 2563) 5) จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) (ดำเนินการเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564) 6) จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) (ดำเนินการเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2564) 7) รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เดือนละ 1 ครั้ง (ดำเนินการเดือนเมษายน - กันยายน 2564) 8) พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการเดือนละ 1 ครั้ง (ดำเนินการเดือนเมษายน - กันยายน 2564) 9) การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์และสามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรม (ดำเนินการเดือนมิถุนายน 2564) 10) การให้บริการหรือเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานครและ/หรือหน่วยงานภายนอกด้วยระบบออนไลน์ และ/หรือมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ (ดำเนินการเดือนสิงหาคม 2564) ทั้งนี้ สามารถปรับเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินงานได้ตามความเหมาะสม และอยู่ในกรอบตามคู่มือการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 1.3 จัดทำบัญชีรายการข้อมูล (data catalog) ดำเนินการจัดทำบัญชีรายการข้อมูลของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ตามแบบฟอร์มที่กำหนด จำนวน 14 รายการ 1.4 กำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลของหน่วยงาน โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ได้แก่ สำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว กองการกีฬา ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) และกองนโยบายและแผนงาน 1.5 พัฒนาฐานข้อมูลใหม่ หรือปรับปรุงฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น จำนวน 1 เรื่อง มาพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน โดยดำเนินการเลือกพัฒนาฐานข้อมูลดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ด้านการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการให้กัประชาชน โดยคาดหวังให้ประชาชนมีสุขภาพดี และมีรูปร่างสมส่วน -ขั้นตอนที่ 2 จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) และจัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ดังนี้ 2.1 ฐานข้อมูลใหม่ที่ปรับปรุงให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 1 ฐานข้อมูล คือ ตารางข้อมูลดัชนีมวลกาย 2.2 ฐานข้อมูลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 14 ตารางข้อมูล ได้แก่ 1) ดัชนีมวลกาย 2) เมืองไทยแข็งแรง 3) จำนวนครั้งในการประชาสัมพันธ์การให้บริการกีฬาและนันทนาการ 2564 4) ข้อมูลการก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานบริการกีฬาและนันทนาการ 5) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ 2564 6) ร้อยละผู้ใช้บริการในสถานที่บริการด้านกีฬาของ กทม. มีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน 7) จำนวนกิจกรรมการกีฬาที่จัดขึ้น 8) จำนวนครั้งในการจัดการแข่งขันกีฬาหรือส่งนักกีฬาตัวแทน กทม. เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับ กทม. ระดับชาติ และระดับนานาชาติ 9) จำนวนทุนการศึกษาที่ กทม. มีให้กับผู้ที่มีความสามารถโดดเด่นด้านกีฬาและนันทนาการ 10) จำนวนและข้อมูลการจัดทำชุดข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรม พื้นที่เขตกรุงเทพมหานครได้รับการพัฒนา 11) จำนวนและข้อมูลแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ กทม. จำแนกตามเขต 12) จำนวนและข้อมูลเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมที่มีในกรุงเทพมหานคร จำแนกรายเขต 13) ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อความปลอดภัยและ 14) จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยให้มีประสิทธิภาพพื้นที่กรุงเทพมหานคร - ขั้นตอนที่ 3 3.1 ปรับปรุงข้อมูลที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่จากแต่ละส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามแบบทบทวนสถานะข้อมูลปัจจุบันและลำดับความสำคัญภารกิจของหน่วยงาน (แบบ สยป. 4.1 (1)) ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2564 3.2 พัฒนาฐานข้อมูลใหม่หรือฐานข้อมูลเดิมฯ (update ข้อมูลส่วนกลางที่ สยป. ให้เป็นปัจจุบัน) ดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูล จำนวน 1 เรื่อง คือ พัฒนาฐานข้อมูลดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) โดยจัดเก็บข้อมูลค่าดัชนีมวลกาย จากผู้รับบริการที่สมัครสมาชิกในศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร จำนวน 36 แห่ง และศูนย์กีฬา จำนวน 12 แห่ง ซึ่งสามารถดำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – เดือนพฤษภาคม 2564 จำนวนทั้งสิ้น 22,404 คน และได้นำข้อมูลมาพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อให้ศูนย์เยาวชนและศูนย์กีฬา สามารถทราบถึงค่าดัชนีมวลกายของสมาชิกที่มารับบริการในศูนย์บริการ และสามารถนำไปพัฒนาการบริการแก่ผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม การจัดเก็บข้อมูลค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ของสมาชิกในศูนย์บริการของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว พบว่า มีสมาชิกที่มารับบริการที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 41.96 และมีค่าดัชนีมวลกายไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 58.04 โดยเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 1 – 3 สูงถึงร้อยละ 50.88 ซึ่งหากมีภาวะอ้วน จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งต่าง ๆ โรคไตเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง โรคตับแข็ง และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่น ๆ - ขั้นตอนที่ 4 การนำข้อมูลหน่วยงานไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยประโยชน์และความสำคัญที่จะได้รับจากการพัฒนาฐานข้อมูลดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ดังนี้ 4.1 ประโยชน์และความสำคัญของประชาชน 1) ประชาชนสามารถเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเองได้ หรือจะสามารถบริหารจัดการเวลาในการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 - 300 นาที/สัปดาห์ ด้วยการเดิน วิ่ง การออกกำลังกายเฉพาะส่วน การออกกำลังกายไม่ได้จำกัดแต่เพียงในโรงยิม เพราะประชาชนยังสามารถเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวันให้เป็นการออกกำลังกายไปในขณะเดียวกันได้ด้วย ลดการใช้สิ่งของอำนวยความสะดวกลง เดินให้มากขึ้น เป็นต้น 2) ประชาชนสามารถเลือกการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม โดยเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ธัญพืช ผัก และผลไม้ ให้เหมาะสมกับตนเองได้ 4.2 ประโยชน์และความสำคัญต่อหน่วยงานและการให้บริการ 1) ศูนย์บริการทางการกีฬาสังกัดสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว มีฐานข้อมูลดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ของสมาชิกที่มาใช้บริการ 2) ศูนย์บริการทางการกีฬาสังกัดสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สามารถที่จะพัฒนากิจกรรมทางการกีฬาต่าง ๆ ได้เหมาะสมและเข้ากับค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ของสมาชิกได้ นอกจากนี้ การจัดทำฐานข้อมูลดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ทำให้สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมทางกายเพื่อนันทนาการหรือกิจกรรมยามว่างให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมีรูปร่างสมส่วน มีสมรรถภาพทางกายที่ดี กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อทำงานได้ดี ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคในกลุ่ม NCDs แต่เนื่องด้วยสถานการการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ทำให้ศูนย์บริการของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ต้องปิดให้บริการชั่วคราว ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ดังนั้น สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จึงได้ปรับแนวทางในการนำฐานข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ทั้งในเรื่องของโภชนาการและการออกกำลังกายควบคู่กันไป เพื่อให้ประชาชนสามารถนำแนวทางการดูแลสุขภาพไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ผ่านทาง https://itbmaculture.blogspot.com/ นอกจากนี้ ศูนย์เยาวชนต่าง ๆ ได้มีการจัดทำคลิปวิดีโอสาธิตการออกกำลังกายและนำกิจกรรมนันทนาการผ่านทางหน้า facebook ของศูนย์เยาวชน (ศูนย์สร้างสุขทุกวัย) แต่ละแห่ง เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนสามารถออกกำลังกายและทำกิจกรรมนันทนาการได้แม้จะอยู่ที่บ้าน - ขั้นตอนที่ 5 การให้บริการหรือเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะทางอินเตอร์เน็ต “https://itbmaculture.blogspot.com/” และ “http://www.bangkok.go.th/cstd” เพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร

** สรุปผลการดำเนินงาน **

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด