ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการ พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคองสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน : 08000000-7094

สำนักอนามัย : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กองการพยาบาลสาธารณสุข

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

การดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) เป็นการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรครักษาไม่หาย (WHO, 2002) ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แต่เป็นแนวทางการดูแลในภาพกว้างๆ ตั้งแต่เริ่มเผชิญภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามถึงชีวิต จนถึงการดูแลในช่วงที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต เพื่อทาให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวซึ่งเผชิญหน้ากับโรคที่คุกคามต่อชีวิต (life – threatening illness) มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยดูแลให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ และบรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวน สาหรับสถานการณ์ในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2557 2559 ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) จานวน 5,820 คน 7,047 คน และ 8,209 คน ตามลาดับ และจากข้อมูลศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน กรุงเทพมหานคร (BMA Home Ward Referral Center) พบว่าในปี 2563 มีจานวนผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองในระบบ BMA Home Ward Referral Program จานวน 9,304 คน ซึ่งในจานวนนี้ ประกอบด้วยผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงที่จาเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิต โดยเฉพาะปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในลักษณะกลุ่มก้อน ขยายการระบาดเป็นวงกว้าง แบบก้าวกระโดด จากฐานข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (วันที่ 3 ธันวาคม 2564) พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จานวนผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 2,130,641 คน เสียชีวิตจานวน 20,880 คน ในกรุงเทพมหานคร พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จานวนผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 434,381 คน เสียชีวิตสะสมจานวน 6,768 คน (ร้อยละ 1.59) มีผู้ป่วยสะสมอยู่ใน Home Isolation จานวน 124,398 คน และเสียชีวิต 89 คน ผู้ป่วยในรายที่มีอาการหนักกลุ่มนี้ ยังต้องการการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) จนวาระสุดท้ายของชีวิต (Good Death) ซึ่งจะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้านเป็นปัญหาระดับชาติต้องเผชิญ เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุจะมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังสูงขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น โดยผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กองการพยาบาลสาธารณสุข สานักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้เห็นความสาคัญของการพัฒนาคุณภาพการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) โดยนาแผนยุทธศาสตร์ใช้ในศูนย์บริการสาธารณสุขทั้งหมด 69 แห่ง ให้ครอบคลุมใน 50 เขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน ด้วยแนวคิดการดูแลที่บ้านหรือการดูแลโดยชุมชน (home-based/community-based care) ให้ความสาคัญกับการมีทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และนักกายภาพบาบัด เป็นต้น การบูรณาการรูปแบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะท้ายแบบประคับประคองในทีมสหวิชาชีพ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง กาหนดเป้าหมายของการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิตคือมีคุณภาพชีวิตที่ดี (quality of life) และสามารถเผชิญความตายอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และตายดี (quality of death) ไม่โดดเดี่ยว ดังนั้นการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคองสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งที่จาเป็นในการพัฒนาเพื่อให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะท้ายได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยและครอบครัวที่กาลังเผชิญอยู่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

08040000/08040000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1 เพื่อพัฒนาความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคอง 2 เพื่อพัฒนาพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคอง สานักอนามัย กรุงเทพมหานคร 3 เพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคอง

เป้าหมายของโครงการ

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการรูปแบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคอง กลุ่มเป้าหมาย คือ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับปฏิบัติการ ชานาญการ ชานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และประเภทอานวยการ ระดับต้น ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จานวน 110 คน เจ้าหน้าที่ดาเนินการจานวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน และวิทยากร 2 คน ระยะเวลา 3 วัน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์
๑.๕ - เมืองสุขภาพดี (Healthy City)
๑.๕.๑ ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพปฐมภูมิ%
๑.๕.๑.๒ พัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-05-12)

100.00

12/05/2566 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-04-19)

70.00

19/04/2566 : อยู่ระหว่างการสรุปผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการรูปแบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคอง ซึ่งดำเนินการจัดประชุมเรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-15)

50.00

15/03/2566 : ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการรูปแบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคอง กลุ่มเป้าหมาย คือ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และประเภทอำนวยการ ระดับต้น ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 110 คน ระยะเวลา 3 วัน อบรมแบบ Online ผ่านจอภาพ ในวันที่ 1 - 3 มีนาคม 2566 เรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-15)

30.00

15/02/2566 : อยู่ระหว่างขออนุมัติรายชื่อผู้เข้าประชุมเชิงปฏิบัติการ และขออนุมัติวิทยากรจากต้นสังกัด

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ระหว่างการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-20)

5.00

20/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ รออนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 งวดที่ 2

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. เสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการเข้ารับการอบรม
:20.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. จัดกิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการรูปแบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคอง
:30.00%
เริ่มต้น :2023-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-02-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. สรุป วิเคราะห์ ผลการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคองสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน
:20.00%
เริ่มต้น :2023-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-05-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. รายงานผลการดำเนินโครงการฯ ต่อผู้บริหารเมื่อสิ้นสุดโครงการ
:20.00%
เริ่มต้น :2023-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-08-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7094

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7094

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6769

ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง (ผลลัพธ์)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 85

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ )
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
100.00

0 / 0
3
100.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **